ค่ายครอบครัว

 

 

 

 

 

 

 

 

กิจกรรมค่ายครอบครัว 7-9 เมษายน 2560

วัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กและครอบครัวเรียนรู้จักการสื่อสารเรื่องเอดส์และเพศในครอบครัวและเพื่อการป้องกันตนเองจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย  โดย

  1. เพื่อให้เด็กเข้าใจเรื่อง เอดส์ การดูแลสุขภาพทางเพศ / เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น    
  2. เพื่อเสริมสร้างพลังภายในตนเอง
  3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน

สถานที่ ภูสิงห์ ภูผาผึ้ง จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 37 คน 

สนับสนุนโดย สมาคมญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย 

จากการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมเด็กๆ มีความสุขจากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้มากคะ  เด็กๆ ได้เขียนบันทึก พวกเขาบอกว่ามีความสุข สนุก จากการเรียนรู้ วิทยากรมีความเข้าใจและตั้งใจในการให้ความรู้  รู้สึกได้รับความรักและความอบอุ่น  รู้สึกสบายใจ อาหารอร่อย ที่พักเย็นสบาย  ถ้าเป็นไปได้อยากไปทะเล สำหรับประเด็นอื่นๆ นอกเหนือจากความสนุกสนานสรุปได้ดังนี้คะ 

  • เด็กๆ ทั้งหมดมีเป้าหมายด้านสุขภาพที่จะดูแลตนเองให้แข็งแรง  ไม่ต้องสมบูรณ์ก็ได้  โดยพวกเขาจะกินยาให้ตรงเวลา ดูแลสุขภาพของตนเองให้ดี เชื่อฟังผู้ปกครอง 
  • เด็ก 80% ที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถก้าวข้ามความวิตกกังวล ไม่ตีตราตนเองจากสภาวะเปราะบางที่กำลังเผชิญอยู่
  • พวกเขาอยากให้คนอื่นๆ ในชุมชน  มองเขาเหมือนคนปกติทั่วไป  มีร่างกายที่แข็งแรง สามารถเป็นคนดี ทำประโยชน์ต่อสังคมได้ ทำกับข้าวให้คนอื่นๆ กินได้  
  • พวกเขาอยากเห็นตนเอง มีความสุข ไม่คิดมากกับเรื่องที่เกิดขึ้น อยากให้ตนเองเป็นคนในกว้าง 
  • ทางด้านเศรษฐกิจ พวกเขาอยากจะมีเงินพอใช้ อยากมีทุกอย่างที่ไม่เคยมี 

และสุดท้าย พวกเขาขอขอบพระคุณสมาคมญี่ปุ่นเป็นอย่างมากที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมค่ายครอบครัวในครั้งนี้คะ 

ภาพกิจกรรม เรียงร้อยตามลำดับกิจกรรมตั้งแต่วันแรก – วันออกจากค่าย คะ 

วันที่ 7 เมษายน 2560

 

19.00 น.

เกมส์สร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน  ( เกมส์ทั่วไป )  
  ชี้แจงความเป็นมาในการดำเนินกิจกรรมค่ายครอบครัว  
  กิจกรรมสร้างครอบครัว
  แบ่งกลุ่ม  3 กลุ่ม /  วาดภาพสมาชิกในกลุ่ม / แจกป้ายชื่อ / ให้แต่ละกลุ่มคุยกันเกี่ยวกับความคาดหวังในการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายครั้งนี้
  แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอความคาดหวังในการเข้าร่วมกิจกรรม
  ความคาดหวัง กติกาการอยู่ร่วมกันในค่าย  

 

ชี้แจงเรื่องน้ำดื่ม 1 ขวดตลอดค่าย (มีจุดเติม) /  สมุดบันทึก

  กิจกรรมจับคู่ ชูชื่น  / บัดดี้แห่งการเรียนรู้

 

เกมส์จับคู่ และแลกเปลี่ยนการเรียนรู้กับเพื่อนๆ 

     
21.00 -06.00 น. พักผ่อน  
วันที่ 8 เมษายน

 

06.00 น.

เกมส์และนันทนาการ

 

ภาพ เด็ก ออกกำลังกายตอนเช้าร่วมกัน 

07.00-08.30 น. อาบน้ำ จัดการธุระส่วนตัว / รับประทานอาหารเช้า  
08.30- 12.00 น. เกมส์เตรียมความพร้อม

 

กิจกรรม Body map รู้จักตนเอง อวัยวะตนเอง  

 

ภาพ เด็กๆ นำเสนอเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านร่างกาย ผ่านภาพวาด 

เวลา กิจกรรม  
  กิจกรรม การดูแลสุขภาวะทางเพศของตนเอง

 

แบ่งกลุ่มชาย-หญิง เรียนรู้เรื่องการดูแลสุขภาวะทางเพศ การคุมกำเนิด ชาย-หญิง

 

หญิง- อวัยวะภายนอก และภายใน / การดูแลรักษาความสะอาด ประจำเดือน / การตั้งครรภ์ / ยาคุมกำเนิดการคุมกำเนิด/การตรวจครรภ์ / การจัดการหลังการตั้งครรภ์

 

ชาย – คำเรียก / บทบาทหน้าที่อวัยวะสืบพันธุ์ / การดูแลรักษาความสะอาดและการคุมกำเนิด

 

กลุ่ม เด็กหญิงเรียนรู้เรื่องเพศ แบบเจาะลึก ตรงประเด็น

กลุ่มเด็กชาย เรียนรู้เรื่องสรีระของตนเอง ถามตอบ อย่างเป็นกันเอง สบายใจ ในพื้นที่ที่ปลอดภัย 

  กิจกรรมสัมผัสดี –ไม่ดี การป้องกันการถูกคุกคามทางเพศ

 

โดยการระบายสี จุดที่สัมผัสได้ และไม่ได้  และให้เหตุผลประกอบ

สรุป: การรับรู้การสัมผัส และการจัดการสถานการณ์ที่ไม่พึ่งประสงค์ใน concept  :  Why No Go Tell  และเบอร์โทร 1300 เพื่อขอความช่วยเหลือ

 

นำเสนอ กิจกรรมสัมผัสดี ไม่ดี และรู้แนวทางในการจัดการสถานการณ์เฉพาะหน้า 

เวลา กิจกรรม  
  กิจกรรม เรียงร้อยเรื่องราวการเรียนรู้  5 นาที

 

ให้คู่บัดดี้ปรึกษาหารือกันเรื่องสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ ให้อ่านให้เพื่อนๆ ฟัง และติดบัตรคำไว้ที่เชือกฟางที่เตรียมไว้หลังห้อง

 
12.00 -13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน  
13.00-13.30 น.

 

13.30-14.30 น.

เกมส์

 

แบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม

สถานีความรู้ ฐานละ 20 นาที

1.      การตรวจสุขภาพเป็นประจำ

2.      การกินยาต่อเนื่อง

3.      Basic care

กิจกรรม เรียงร้อยเรื่องราวการเรียนรู้ 5 นาที

ให้คู่บัดดี้ได้คุยกันเรื่องที่ตนเองได้เรียนรู้จากกิจกรรมช่วงเช้า

 

การลงกลุ่มฐาน เรียนรู้เรื่องสุขภาพ ถามตาม จากผู้รู้และมากประสบการณ์

14.30-14.50 น. รับประทานอาหารว่าง  
14.50-15.30 น. ละคร ภูมิคุ้มกันในร่างกาย

 

รอบที่ 1

1.      กิจกรรมเสือกินวัว   เลือก ตัวแทน 2 คนเพื่อเล่นเป็นเสือ และวัว

2.      คนที่เหลือให้เล่นเป็นคอก ที่คอยปกป้องวัวไม่ให้เสื้อกิน   

รอบที่ 2 แทนค่าเสือ วัว และ คอก โดย เสือเป็นเชื้อโรค / วัวเป็นคน / คอกเป็นระบบภูมิต้านทาน โดยให้มีหัวหน้าระบบภูมิต้านทาน 1 คน ค่อยทำหน้าที่สั่งการ

1.      ให้เชื้อโรคแต่ละตัวออกไปพยายามจับคน

2.      ปล่อยเชื้อ HIV ลงไปจัดการกับระบบภูมิต้านทาน ( ให้พี่เลี้ยงเล่นเป็นเชื้อ  HIV) หากภูมิต้านทานถูกเชื้อ HIV เกาะไว้แล้ว ภูมิต้านทานจะไม่สามารถทำงานได้ และเปิดโอกาสให้เชื้อโรคตัวอื่นๆ เข้าสู่ร่างกาย

3.      ผู้ดำเนินกิจกรรมถามผู้เข้าร่วมกิจกรรมถึงบทบาทของตัวละครต่างๆ และสรุปเกี่ยวกับระบบภูมิต้านทานของร่างกาย  

กิจกรรม เรียงร้อยเรื่องราวการเรียนรู้  5 นาที

 

เกมส์ ภูมิต้านทาน ที่ประยุกต์มาจากการละเล่นของไทย “เสืิอกินวัว” เพื่อเปรียบเทียบ ทำความเข้าใจเรื่องระบบภูมิต้านทานของร่างกาย 

ภาพ การอธิบายการทำงานของ CD4 

15.30-16..20น. ชมละครสั้น เรื่องยังรักเธอ ( หนึ่งในละครชุดรักไม่ติดลบ ) ความรักของเด็กวัยรุ่นที่อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV  
16.20-16.30น. กิจกรรม เรียงร้อยเรื่องราวการเรียนรู้  10 นาที  
16.30-19.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย รับประทานอาหารเย็น  
19.00-21.00น. กิจกรรมรักเหนือรัก – การเสริมพลังด้านบวก เจริญสติ รู้เท่าทันจิตใจของตนเอง 

 

วิทยากร คุณพิมลทิพา มาลาหอม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี / กรรมการมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการแบ่งปัน 

21.00 -06.00น. พักผ่อน        
วันที่ 9 เมษายน    
6.00-7.00 น. เกมส์และนันทนาการ

 

จัดการธุระส่วนตัว

 
07.00-08.30 น. อาบน้ำ จัดการธุระส่วนตัว / รับประทานอาหารเช้า  
08.30-14.30 น. กิจกรรมทบทวนความรู้วันวานโดยเล่นเกมส์ตอบคำถาม

 

กิจกรรม รู้จักตนเองผ่านกิจกรรมคน 4 ทิศ

–  ให้เด็กๆ อ่านลักษณะนิสัยของคนทั้ง 4 ทิศ

–  เลือกทิศที่มีลักษณะนิสัยที่คล้ายกับตนเองมากที่สุด และเปลี่ยนกันในกลุ่ม

–  วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของนิสัยดังกล่าว

สรุป จุดอ่อนและจุดแข็ง  การจัดการกับภาวะอารมณ์ต่างๆ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

 
  กิจกรรม กิจกรรมชื่นชม

 

ให้เพื่อนเขียนข้อดีของเพื่อนแต่ละคน และอ่านให้เพื่อนฟังในกลุ่ม

 
14.30-15.00 น. สรุปกิจกรรมค่าย

 

ให้เด็กเขียนความรู้สึกต่อค่าย

ร้องเพลง “ช่วงที่ดีที่สุด” จับมือและกอดกันทุกคน