ค่ายพัฒนาศักยภาพเด็กเยาวชน “ท้องถิ่นเพื่อน้อง”

ค่ายพัฒนาศักยภาพเยาวชน ท้องถิ่นเพื่อน้อง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
ระหว่างวันที่ 15-16 กรกฏาคม 2560 
สถานที่ วนอุทยานภูสิงห์ ภูผาผึ้ง จังหวัดอำนาจเจริญ

วัตถุประสงค์ในการจัดค่าย 

  1. เพื่อให้แกนนำเด็กเยาวชนมีเวทีในการ  ฝึกทักษะความเป็นผู้นำ  การแสดงออกในทางสร้างสรรค์  ฝึกภาวะผู้นำ   จิตอาสา  รู้สึกถึงการมีคุณค่า  และมีความสนใจในการทำกิจกรรมชุมชน
  2. เพื่อส่งเสริมให้แกนนำเด็กเยาวชน ได้ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์  ปัญหา  ที่กระทบกับเด็กเยาวชน  และครอบครัว ชุมชน
  3. เพื่อให้แกนนำเด็กเยาวชนได้ร่วมกันวางแผน และเสนอความต้องการในการจัดการแก้ไขปัญหา  มีส่วนร่วม
  4. เพื่อเสริมสร้างการทำงานด้านเด็กอย่างมีส่วนร่วมของเครือข่ายการทำงานในพื้นที่ตำบล

กิจกรรม 15-16 กรกฎาคม 2560

สถานที่ ภูสิงห์ ภูผาผึ้ง จังหวัดอำนาจเจริญ

เริ่มกิจกรรม 9.30 น.

กิจกรรมเกมส์ เตรียมความพร้อม

  1. เกมส์สร้างความสัมพันธ์
    1. ปรบมือ 12345
    2. ปรบมือ แบบ easy
    3. ปรบมือ 3 steps
    4. ลมเพ ลมพัด นำสู่การแบ่งกลุ่ม 5 คน  ระดมความคิดเห็นกติกา ความคาดหวัง 
    5. ชี้แจงการให้คะแนน

ผลการดำเนินกิจกรรม

ความคาดหวัง

  1.  ประสบการณ์และความรู้ใหม่ๆ
  2. กล้าแสดงออก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  3. มีความเป็นผู้นำ
  4. มีความสนุกสนาน
  5. เพื่อนใหม่ มิตรภาพ การอยู่ด้วยกัน
  6. ความสามัคคี มีน้ำใจ ช่วยเหลือกัน
  7. นำความรู้ไปพัฒนาตนเอง ชุมชน โรงเรียน
  8. ได้เกียรติบัตร ได้ถ่ายรูป ได้เจอสถานที่ใหม่
  9. ได้เจอพี่ถม

กติกา

  1. ห้ามทะเลาะ
  2. ตรงต่อเวลา
  3. ห้ามลักขโมย
  4. รักษาความสะอาด
  5. สามัคคี เคารพซึ่งกันและกัน
  6. ห้ามเล่นโทรศัพท์ในเวลาอบรม
  7. มีน้ำใจ พูดจาสุภาพ

ภาคต่อ ( กิจกรรมภาคบ่าย )

  • แจกกระดาษ 3 ใบ เขียน
  • ความภาคภูมิใจในตนเอง /ข้อดี
  • เคยผ่านการอบรมอะไรมาบ้าง เรื่องอะไร
  • เราเคยทำประโยชน์ต่อคนรอบข้างเรื่องอะไร/รู้สึกอย่างไร

ให้เขียนประมาณ 2-3 นาที/ข้อ

  • จับคู่เล่าเรื่อง
  • ให้ทุกคนนำบัตรคำของตนเองไปติดในชาร์ด
ภูมิใจผ่านการอบรมทำประโยชน์
   
  • สรุป ต้นทุนต่างกัน ทุกคนมีข้อดี ทุกคนเคยทำประโยชน์เพื่อสังคม)
  • ให้มีแกนนำเยาวชนมาเล่าเรื่อง ( จอนนี่/ แขก โดยมี ดร.สนอง เป็นคนยืนยันข้อมูล)

ผลการดำเนินกิจกรรม

ภาพ เยาวชนจับคู่เล่าเรื่องความภาคภูมิใจ ประสบการณืเข้ารับการฝึกอบรม และการทำประโยฃน์ใหักับสังคม

ภูมิใจผ่านการอบรมทำประโยชน์
­  ได้รับความไว้ใจจากรุ่นพี่­  ทำให้คนอื่นยิ้มได้­  ได้ช่วยเหลือเพื่อน­  แต่งตัวชนะในงานแข่งขันฟุตบอล­  ช่วยสร้างความสนุกสนานในหมู่เพื่อน­  ช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ­  ยิ้มสวย­  ภูมิใจกับหน้าตาตัวเอง­  ได้เป็นนักกีฬาโรงเรียน­  ช่วยงานบ้านพ่อ แม่ ทำอาหารให้พ่อแม่กิน­  เป็นผู้นำโรงเรียน­  หาเงินเรียนเองได้­  เรียนดี­  ขับรถเป็น­  ช่วยแบ่งเบาภาระอาจารย์­  เป็นนายกองค์การนักศึกษาวิทยาลัย­  มีเพื่อนที่ดี­  ได้ไปเข้าค่าย มีประสบการณ์ที่ดี­  ยิ้มง่าย­  เข้าร่วมกิจกรรมกับ มสป.­  ได้เรียนหนังสือเข้าการอบรมจากโรงเรียนอบรมด้านการต่อต้านยาเสพติดเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเรื่องเอดส์เพศศึกษากับทางมูลนิธิฯ ปฏิบัติธรรม ­  อสม.น้อย­  การดับเพลิง­  การปั่นจักรยาน­  ค่ายภาษาอังกฤษ­  การเขียนแผนธุรกิจ­  การจราจร­  โรงเรียนสุจริต­  ค่ายลูกเสือ­  เศรษฐกิจพอเพียง­  สภาเด็กและเยาวชน­  การคลี่คลายครอบครัวไทยในยุค 4.0­  อบรมสอบใบขับขี่­  อสร.­  ค่ายคณิตศาสตร์ ­  เก็บขยะให้โรงเรียน­  ช่วยเพื่อนๆที่เป็นไข้เราช่วยดูแล­  ทำการบ้านให้น้อง­  ช่วยครูถือของ­  ให้เพื่อนยืมปากกา­  ช่วยแม่ทำความสะอาดบ้าน­  เก็บขยะในชุมชน­  ช่วยน้องข้ามถนน­  กำจัดลูกน้ำ ยุงลาย­  ทำความสะอาดโรงเรียน­  กวาดลานวัด­  ดูแลน้อง­  เก็บเงินได้­  ให้เพื่อนลอกการบ้าน

ความภูมิใจ

เรามีความภูมิใจในตนเอง เรามีข้อดี ในตัวเอง เราสามารถทำความดีได้  ช่วยเหลือคนอื่นได้  ภูมิใจจากสิ่งที่ตนเองมีและภูมิใจจากสิ่งที่ตนเองได้ทำ

การผ่านการอบรม

พี่ถามเพื่อประเมินต้นทุนของน้องๆว่ามีต้นทุน  ต้นบุญ มากน้อยแค่ไหน  การผ่านการอบรมก็เป็นต้นทุนอีกอย่างหนึ่ง  ทำให้เรารู้ว่าเราเองก็มีดี  น่าสนใจทำไมเราได้รับเลือกให้เข้ารับการฝึกอบรม

ประโยชน์ที่ได้รับ

สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้กับตัวเอง…และจะดีกว่านี้ไหมถ้าการอบรมแล้วทำให้เกิดประโยชน์ต่อคนอื่นๆ

การไปช่วยคนอื่นดีอย่างไรถ้าเราสามารถทำประโยชน์ให้กับคนอื่นมากกว่าคนใกล้ตัวได้หรือไม่(ได้)

เยาวชนในพื้นที่ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงานการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ

จอนนี่

สมัยอยู่ มัธยมที่ 3 ได้เป็นตัวแทนโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมอบรมกับองค์การแชร์ กับกลุ่มกะเทยที่ ไกรลาสรีสอร์ท และหลังจากนั้นก็ได้เข้ามาช่วยงาน  เมื่อก่อนไม่กล้าพูดไมโครโฟน กลัว กังวล  กลัวการจับจ้องจากเพื่อนๆ แต่ทุกวันนี้รู้สึกดีใจที่พูดไปแล้วที่มีเพื่อนฟัง เวลาที่ตนเองพูด โดยบทบาทแรกๆ ที่ได้รับมีบทบาทในการแจกกระดาษ  เล่นเกมส์ และปัจจุบันได้เป็นแกนนำเยาวชนในระดับตำบล  ถ้าไม่ได้มาเข้าร่วมกิจกรรมก็คงเป็นเด็กตามบ้าน เล่นเกมส์   อีกบทบาทคือเป็น  อสม.  เป็นคณะทำงานในการจัดทำกิจกรรมสานฝันพลังเด็ก เป็นคณะทำงานเด็กตำบลหัวนา

อยากจะบอกน้องๆว่าไม่ต้องกลัว  เราต้องก้าวข้ามความกลัว  กล้าฝึกประสบการณ์  พัฒนาตนเอง

 แขก

ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่แขกได้มีประสบการณ์ในการทำงานให้กับน้องเยาวชนได้รับฟัง  ซึ่งก่อนถึงทุกวันนี้ พี่แขกก็เป็นเด็กเยาวชนคนหนึ่ง ไม่แตกต่างจากวัยรุ่นในหมู่บ้าน เยาวชนนักเลง ตีหัวหมา ด่าแม่เจ๊ก  ติดยา  เรียนหนังสือไม่จบเพราะมีเรื่องทะเลาะวิวาท ไปตีลูกครู และเข้าเรียนต่อที่ กศน.   ไม่รู้ว่าชีวิตตัวเองจะใช้อย่างไร  ความเท่ห์คือการขับรถ

หลังจากได้เข้าค่าย  ครั้งแรกไปเข้าค่ายและเจอกับเจ้าหน้าที่ มสป. คุณบุญถม รู้สึกสนุก เพราะจากการใช้ชีวิตปกติ  ได้เจอเพื่อใหม่  ได้เห็นประสบการณ์ชีวิตอีกแบบที่ไม่เหมือนกันเพื่อนที่บ้านเรา

ได้รับการอบรมกับองค์การแชร์ เรื่องเอดส์  ถุงยางอนามัย  การคุมกำเนิด รู้สึกสนุกเพราะเป็นเรื่องที่คนทั่วไปก็ไม่ได้เรียนกันตามบ้าน โรงเรียน  ได้เจอประสบการณ์ใหม่ ๆ  เพื่อนใหม่ๆ  จากการเป็นผู้เข้าร่วมก็พัฒนาตนเองเป็นแกนนำ เพราะพี่ๆเห็นความสามารถ ( เขาบอกว่าพี่มึน) ได้เปลี่ยนแนวความคิดในการดำเนินชีวิต  จากเอามือบิดรถมอเตอร์ไซด์มาจับไมด์  จากที่เคยใช้ปากด่าคนอื่นๆ ก็มาพูดเรื่องดีๆ ได้เป็นแกนนำเยาวชนในระดับต่างๆ ทั้งระดับตำบล ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด  จนได้เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ใน  มสป. ประสานงาน รู้สึกดีที่ตนเองได้มีโอกาสในการทำประโยชน์ให้กับคนอื่นๆ รู้สึกดีใจที่เห็นน้องๆ ทุกคน หมดรุ่นของพี่แขกแล้วก็ยังมีน้องๆ รุ่นต่อๆไป  

กล้วย

 ตอนนี้กล้วยเรียน ม. 5 โรงเรียนเขมราฐพิทยาคม แรกเริ่มเดิมที่ก็ได้รู้จักพี่ถม และพ่อสำลี  เริ่มตั้งแต่  ป. 5 จนถึง ม.5 พัฒนาการจากที่เคยเอาไมด์ทิ้ง มอบ แต่คิดว่าเราสามารถลองได้ พัฒนาได้ และเริ่มพัฒนาตนเอง และชินกับการถือไมด์

ภาพ เจ้าหน้าที่ Path to Health และ เจ้าหน้าที่ มสป. ร่วมกันสรุปประเด็น
ภาพ เจ้าหน้าที่ Path to Health และ เจ้าหน้าที่ มสป. ร่วมกันสรุปประเด็น

คุณ สาว

จริงๆ บทบาทในการเป็นแกนนำก็มีหลายอย่าง ไม่ใช่ว่าจะมีการพูดไมด์อย่างเดียว แต่เราสามารถทำงานได้หลายอย่างในการช่วยงาน  เช่น เตรียมอุปกรณ์  เตรียมเบรก  หน้าที่อื่นๆ ก็มีความสำคัญ

เด็กๆ มีความเป็นตัวเองได้ แต่ก็ควรมีกรอบ รู้ว่าเราจะทำอะไรที่ไหน  อยากบอกน้องว่าน้องไม่ต้องกลัวถูกตำหนิ แต่ถ้าตั้งใจทำผิดเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

เราได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้

  • เราเห็นคุณค่าของตัวเอง ความกล้าแสดงออก
  • รู้ว่าเราสมควรต้องทำประโยชน์ให้แก่สังคม และคิดว่าตนเองทำได้
  • ได้รู้จักตนเองมากขึ้น
  • ได้รู้ว่าเพื่อนคนอื่นมีความสามารถ ได้รู้ว่าเพื่อนได้ทำประโยชน์เพื่อสังคม เรารู้สึกภูมิใจ  และมีแรงบันดาลใจ 
  • กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก เพราะเรามีผู้ใหญ่ให้โอกาส 
  • รู้สึกว่าตัวเองมีความกล้ามากขึ้น

ดร.สนอง ยืนยันข้อมูล

ทางเทศบาลได้มีการประสานงานกับองค์การแชร์  ตลอด  เจอแขกอยู่ในสายตาตลอด จนวันนี้ครูเองก็ได้มาอยู่ร่วมเครือข่ายกับ มสป. เห็นพัฒนาการของแขก มีการพัฒนาตนเอง สามารถเป็นตัวอย่างให้กับน้องๆได้

ครูก็เช่นกัน  ครูได้เปิดใจ และมีความศรัทธาในการทำงานร่วมกัน ครูเชื่อว่าเราจะประสบความสำเร็จ  เมื่อก่อนครูไม่ได้เป็นคนที่เรียนดี มีความใส่ใจในการเรียนเฉพาะวิชาที่ชอบเท่านั้น แต่ทุกวันนี้เก็บเงินส่งตัวเองเรียนจนจบปริญญาเอก

กิจกรรมวิเคราะห์สถานการณ์

วิธีการ

  1. ให้ทุกคนมารวมกันที่ตรงกลาง
  2. ผู้ดำเนินกิจกรรมอ่านคำตาม และให้ผู้เข้าร่วมเดินไปยังจุดใช่ / ไม่ใช่ ที่ตรงกับความคิดเห็นของตนเองมากที่สุด ( ระหว่างดำเนินกิจกรรมให้ผู้ดำเนินกิจกรรมถามความคิดเห็นกลุ่มที่ตอบใช่ และไม่ใช่
  3. ผู้บันทึก จดความคิดเห็นไว้
  4. ผู้ดำเนินกิจกรรมสรุปประเด็น จากการบันทึกสรุปคะแนนให้ทุกคนเห็นร่วมกัน
เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ม่วงเฒ่า สรุปผลการดำเนินกิจกรรมการวิเคราะห์สถานการณ์ชุมชน
เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ม่วงเฒ่า สรุปผลการดำเนินกิจกรรมการวิเคราะห์สถานการณ์ชุมชน
คำถามใช่ไม่ใช่เพิ่มเติมข้อมูลจากเด็กที่ตอบใช่
1)        เด็กมีความพิการหรือมีโรคประจำตัว เติบโตไม่สมวัย1141­  เคยเห็นเด็กขาดสารอาหารหัวโต­  เคยเห็นเด็กขาพิการ หลอดเลือดตีบ เดินไม่ได้­  เป็นโรคหอบหืด
2)        เด็กใช้สารเสพติด บุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ520­  เจอเพื่อน พี่ ดื่มสุรา และสูบบุหรี่­  เคยเห็นเพื่อนสูบบุหรี่ในโรงเรียน­  เคยเห็นที่หมู่บ้าน
3)        เคยเห็นเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปีท้องไม่พร้อมหรือไม่1636­  เคยเห็นรุ่นพี่ที่โรงเรียน อยู่ในหมู่บ้านเดียวกันด้วย­  เพื่อน เรียนหนังสือด้วยกัน ท้อง
4)        ในชุมชนของเรามีเด็กอายุ 7-15 ปี หยุดเรียนกลางคัน หรือไม่ได้เรียนหนังสือ1636­  เพื่อนที่เรียนด้วยกันออกจากโรงเรียนโดยไม่รู้สาเหตุ­  รุ่นน้องเอาผัว 3­  เพื่อนร่วมชั้น ติดยาเสพติด 5­  จากพัฒนาการ­  ผลกระทบคือ ทำให้หางานทำยาก
5)        เด็กทำร้ายตนเอง ผู้อื่นทำร้าย โดนรังแกบ่อยครั้ง151­  สาเหตุแฟนทิ้ง จึงเอามีดกรีดแขนตนเอง
6)        เด็กไม่มีผู้ดูแลหรือผู้ใหญ่ที่พึ่งพาได้ 52­   
7)        เด็กต้องรับภาระเกินวัย349­  เด็กอยู่บ้านดูแลแม่ที่พิการ­  เราจะช่วยอะไรได้บ้าง  เช่น จัดกิจกรรมเปิดหมวก
8)        เด็กมีปัญหาเรื่องสถานะบุคคล646­  เป็นรุ่นน้องที่โรงเรียนดอนโด่  น้องไม่มีบัตร ครูสงสารจึงให้เรียนต่อ­  เป็นคนในชุมชน เขาป่วยหนักแต่ไม่มีบัตร ทำให้ยากต่อการรักษา (ประมาณ 20กว่าปี)­  เพื่อนที่บ้าน  แม่แจ้งเกิดช้า เป็นลูกของคนไทย­  เป็นรุ่นน้องที่บ้าน  ตอนเกิดเกิดที่ กทม.แต่ไม่ได้แจ้งเกิด ( อยู่บ้านบาก)
9)        พ่อแม่หย่าร้าง  หรือเสียชีวิต1240­  ตัวเอง  และหลานสาวที่พ่อแม่หย่าร้างแล้วแม่เสียชีวิต­  เป็นตัวเอง พ่อแม่หย่าร้างตั้งแต่ที่เรายังไม่รู้ความ­  เป็นญาติ เขาแต่งงานและมีลูกก่อนแต่ง ผู้ชายไม่รับผิดชอบ­  พ่อแม่เสียชีวิต 5
10)   พ่อหรือแม่หรือผู้ดูแล ติดคุกหรือถูกดำเนินคดี349­  คนในชุมชน แฟนเขาติดยาเสพติดและถูกจับได้ทำให้เขาต้องเลี้ยงลูกเอง­  พ่อค้ายาเสพติด ถูกจับทำให้น้อง4 ปีอยู่กับแม่
11)   ผู้ดูแลเด็กมีอาการทางจิต250­  น้องอยู่กับลุงที่เป็นบ้า อาการขึ้นๆลงๆ­  เด็กอยู่กับคนแก่ประมาณ 65 ปี 
12)   ผู้ดูแลยากจน มีหนี้สิน จนทำให้เด็กไม่สามารถดูแลเด็กได้ 52­   
13)   ผู้ดูแล หรือ สมาชิกในครอบครัวใช้สารเสพติด หรือกินเหล้าเป็นประจำ3 ­  น้าที่บ้าน กินเหล้าประจำ กินเมาแล้วนอน มีลูก 4 คน ภาระการดูแลลูกเป็นของผู้หญิง­  น้าที่บ้านเสพยา และดื่มสุรา แต่ไม่ทำร้ายข้าวของ  เด็กมียายดูแลเพราะน้าแยกทางกับเมีย­  ผู้ชายที่เรียนด้วยกันมักหลบเรียนไปดื่มเหล้า

บุญถมเพิ่มเติมข้อมูลจากที่ได้ทำแบบสำรวจโดยอสม.   คณะทำงาน

กิจกรรมวาดภาพฝัน

ภาพ กิจกรรมภาพฝันที่กลุ่มอยากจะเห็น

ผู้ดำเนินกิจกรรมเชื่อมโยงสภาพปัญหาและให้กลุ่ม 1-5 วาดภาพฝันที่กลุ่มอยากเห็น โดยแต่ละกลุ่มจะได้โจทย์ช่วงอายุ ดังนี้

  • กลุ่ม 0-5
  • กลุ่ม 6-11
  • กลุ่ม 12-18
  • กลุ่ม ครอบครัว
  • กลุ่ม ชุมชน

ผลการดำเนินกิจกรรม

นำเสนอ

ปริญญา แดงโสภา  ตัวแทนกลุ่มดอกมะลิ นำเสนอ กลุ่ม  0-5 ปี

  1. อยากให้เด็กได้รับวัคซีนครบ
  2. อยากให้มีผู้ใหญ่ดูแลอย่างใกล้ชิด
  3. ได้รับอาหารครบ 5 หมู่
  4. ได้รับความอบอุ่นจากครอบครัว (เพราะเด็กที่ขาดความอบอุ่นจะส่งผลกระทบต่อตัวเอง)
  5. ไม่ถูกปล่อยปะละเลย
  6. มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย

เพิ่มเติมข้อมูลเรื่องการฉีดวัคซีน โดยหมอแอน เพื่อให้เด็กเข้าใจว่าการรับวัคซีนในเด็กสำคัญอย่างไร  พัฒนาการสมวัยคืออะไร

อารีรักษ์ กลุ่มดอกกล้วยไม้กลุ่ม6-11 ปี

  1. อยากเห็นเขาเป็นจิตอาสา
  2. ได้รับความอบอุ่นจากครอบครัว
  3. พัฒนาการสมวัย
  4. ไม่ติดเกมส์
  5. ได้รับการศึกษา
  6. เป็นที่รักของคนรอบข้าง
  7. เป็นคนของสังคม

มนัชนก/กรรณิกา12-18 กลุ่มดอกกุหลาบ

  1. อยากให้เขามีอนาคตที่ดี
  2. ห่างไกลยาเสพติด
  3. หน้าที่การงานดี
  4. ครอบครัวอบอุ่น
  5. ห่างไกลยาเสพติด/ เพื่อนในกลุ่มไม่ติดยาเสพติด
  6. อย่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
  7. ตั้งใจเรียน
  8. มีรายได้ระหว่างเรียน
  9. ไม่ท้องก่อนเรียน
  10. ช่วยเหลือผู้อื่น

วิภาวรรณ โครตภา  กลุ่มดอกแก้ว  นำเสนอเรื่องครอบครัว

  1. สุขภาพ (นอนกลางมุ้ง เล่นกีฬาออกกำลังกายในครอบครัว กินอาหารปลอดภัยดูแลซึ่งกันและกัน)
  2. ปัจจัยภายนอก (ไม่ติดสารเสพติด ไม่ติดเกมส์ไม่ดื่มสุรา ไม่เล่นการพนัน)
  3. สภาพแวดล้อม (รักษาความสะอาดภาพในบ้าน ความปลอดภัยด้านทรัพย์สิน การจัดสวน ปลูกต้นไม้)
  4. สมาชิกในครอบครัว ( ความรัก ความอบอุ่น ความสามัคคี มีความเข้าใจ มีเหตุผล มีความเคารพ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันไม่ทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย )
  5. หน้าที่ของคนในครอบครัว ลูกตั้งใจเรียน พ่อแม่ตั้งใจทำงาน

จิราพรและน้องเนสท์  ตัวแทนกลุ่มพุทธรักษา  นำเสนอ   กลุ่มชุมชน

  1. อยากให้ชุมชนมีกิจกรรมอย่างน้อยเดือนละครั้ง
  2. เดินรณรงค์ป้องกันยุง ยากเสพติด
  3. ทำความสะอาดชุมชน
  4. ชุมชนสามัคคี ร่วมใจกันทำกิจกรรม
  5. ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของบุตรหลาน
  6. มีการถ่ายทอดประสบการณ์จากพี่สู่น้อง
  7. ชุมชนปลอดภัยจากสารเสพติด
  8. มีชมรมยกย่อง เชิดชูคนดี
  9. มีชมรมหนอนหนังสือ แนะนำการศึกษา
  10. ลานกิจกรรมเพื่อสุขภาพ
  11. มีเครือข่ายหลากหลาย เข้มแข็ง

กิจกรรมภาคค่ำ 

ภาพ ความสนุนสนานในกิจกรรมภาคค่ำ เกมส์และละคร

วันที่ 16 กรกฎาคม 2560

  • น.ออกกำลังกาย

กิจกรรมละลายพฤติกรรม

เกมส์นำเข้าสู่บทเรียน

เกมส์โยนบอลเรียกเชื่อ

อุปกรณ์ ลูกบอล ปากาเมจิก กระดาษ

กติกา

ให้เรียกชื่อเพื่อน และโยนบอลให้ โดยเรียกชื่อเพื่อที่อยู่ตรงข้าม

จับเวลา จนกระทั้งทำสำเร็จ

รอบที่   1  แจ้งเวลาให้กลุ่มทราบ ให้ถามความรู้สึกต่อกิจกรรม 

  • เราคิดว่าเราจะทำได้ดีกว่านี้ไหม
  • ให้เวลาในการเตรียมความพร้อม ประชุมทีม  

รอบที่ 2 แจ้งเวลาให้กลุ่มทราบ  และถามว่า “ เราจะทำได้ดีกว่านี้ไหม” ให้กลุ่มกำหนดเวลาที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง  โดยเป้าหมายจะต้องสามารถทำให้เป็นจริงได้  และกลุ่มตกลงกัน

รอบที่ 3 แจ้งเวลาให้กลุ่มทราบ

ผู้ดำเนินกิจกรรมชวนสรุปบทเรียน  คำถามต่อไปนี้

  1. ความรู้สึกต่อกิจกรรม
  2. เราได้เรียนรู้อะไร
  3. มีการจัดการกลุ่มอย่างไร
  4. เราเห็นผู้นำหรือไม่

ผลการดำเนินกิจกรรม

เวลารอบที่หัวนาเขมราฐ
รอบ 11.263.25
รอบ 20.564.30
รอบ 30.480.53

เด็กๆ รู้สึกภูมิใจที่ทำเวลาได้ดีขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่เขมราฐ ที่ตั้งเป้าหมายความสำเร็จไว้ที่ 2 นาทีแต่ทำเวลาได้ 0.53 ซึ่งดีกว่าที่กำหนดไว้  ปัจจัยความสำเร็จคือ การร่วมมือกันทำกิจกรรม ได้เห็นภาวะผู้นำกลุ่ม และเพื่อนๆ รับฟังปฏิบัติตาม  เมื่อเพื่อนผิดก็อภัยให้กัน ส่วนพื้นที่อำเภอหัวนา สามารถทำเวลาได้ดีขึ้นเรื่อยๆ มีการกำหนดเป้าหมายที่เป็นไปได้ ท้าทายตนเอง ท้าทายกลุ่ม  มีการซ้อมเพื่อให้ทำงานกลุ่มได้ดีขึ้น ทำให้ทุกคนให้ความร่วมมือ และทำเวลาได้ดี

กิจกรรมทบทวนวันวาน

วิธีการ เขียนคำถามใส่กระดาษและห่อไว้เหมือนกะหล่ำปลี  และเล่นเกมส์โยนกระดาษ

ทบทวนประเด็น

  1. กติกา
  2. ความคาดหวัง
  3. ความภูมิใจของฉัน
  4. สิ่งที่ได้ทำแล้วประทับใจ
  5. สถานการณ์เด็กและเยาวชน
  6. สิ่งที่อยากเห็นต่อเด็ก เยาวชน ครอบครัว และชุมชน
  7. สิ่งที่ชอบและประทับใจจ

ผลการดำเนินกิจกรรม

เด็กๆ สามารถตอบคำถามตามโจทย์ได้  ถึงแม้จะไม่มั่นใจในตนเองแต่ก็สามารถตอบคำถามของผู้ดำเนินกิจกรรมได้อย่างไม่เขินอายเหมือนวันแรกที่เข้าร่วมกิจกรรม

จากนั้นผู้ดำเนินกิจกรรมได้ทบทวนกิจกรรม  เชื่อมโยงปัญหาและภาพฝัน  และให้แต่ละกลุ่มร่วมกันคิดกิจกรรมตามช่วงวัย  ( กิจกรรมนี้ให้พี่เลี้ยงลงประจำกลุ่มเพื่อให้คำปรึกษา )

กลุ่มกิจกรรมจากการระดมกิจกรรม
0-5­  อยากให้เขาเป็นได้รับความอบอุ่นมากที่สุดเช่นให้พ่อแม่ใช้เวลาอยู่ร่วมกับเด็กมากที่สุด(ให้พ่อแม่มีเวลาว่างให้ลูก)­  ให้พ่อแม่ได้รับการอบรมในการเลี้ยงดูเด็กอายุ 0-5 ปี­  สร้างกิจกรรมเช่น  การเล่านิทาน การสร้างเกมส์พัฒนาสมองให้เด็ก­  จัดสร้างค่ายอบรมพ่อ  แม่ลูก เพื่อพัฒนาพ่อแม่ให้เห็นความสำคัญและความปลอดภัยของเด็ก­  เด็กต้องได้รับการศึกษาตามวัย­  จัดการแข่งขันของเด็ก 0-5 ปี  เช่น  หนูน้อยฟันสวย   การปันดินน้ำมัน­  ประชาสัมพันธ์ -รณรงค์ ให้พ่อแม่มีเวลาว่างให้ลูก­  อบรมการเลี้ยงเด็ก 0-5 ปี­  เล่านิทาน­  สร้างเกมส์พัฒนาสมองเด็ก­  ค่ายอบรมพ่อ  แม่  ลูก­  ติดตามเด็กให้ได้รับการศึกษาตามวัย­  จัดการแข่งขันพัฒนาการเด็ก
6-11­  อบรมโทษของสารเสพติด­  อบรมเรื่องสุขภาพ­  เดินรณรงค์เรื่องสารเสพติด­  อบรมเรื่องการใช้ชีวิตที่ดี­  อบรม­  รณรงค์­  ค่าย
12-18­  สำหรับเด็กที่รับภาระเกินหน้าที่หรือติดสารเสพติด: แจ้งหน่วยงานของรัฐให้มาดูแล  บำบัดรักษา­  ครอบครัวที่มีผู้ปกครองติดสุราของมีนเมา อาจจะส่งผลให้ขาดความอบอุ่น เราสามารถช่วยเหลือในด้านต่างๆโดยให้รัฐเข้ามาดูแล­  กลุ่มเพื่อนที่ติดสารเสพติด  สามารถโน้มน้าวจิตใจให้ห่างจากยาเสพติด และชักชวนให้เขาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เช่นเล่นกีฬา   อ่านหนังสือ­  เด็กยากจน  สามารถช่วยให้เขาหารายได้ระหว่างเรียน เช่นขอความอนุเคราะห์จากผู้ใหญ่บ้าน  ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ   ส่งเสริมให้ทำงานประดิษฐ์เพราะสามารถขายหารายได้­  เด็กวัยรุ่นชาย หญิง  เป็นช่วงที่อยากรู้ อยากลอง อาจพลาดมีลูกในวัยเรียน วัยรุ่นสามารถคุยกันได้ดีกว่าผู้ใหญ่ เช่นเพื่อนให้คำแนะนำเรื่องท้องไม่พร้อม การให้คำแนะที่เหมาะสมและถูกวิธี  แนะนำให้เขาบอกผู้ปกครอง­  ประสานงานให้รัฐเข้ามาช่วยดูแล­  ส่งเสริมการทำงานประดิษฐ์เพื่อสร้างรายได้เสริม­  เล่นกีฬา­  อ่านหนังสือ­  ให้คำปรึกษาเพื่อนเรื่องเพศ  การป้องกันตนเอง
ครอบครัว­  จัดตั้งกลุ่ม my familyโดยมีครอบครัวที่เข้ามาร่วมกิจกรรม­  กิจกรรม­  กิจกรรมต้นทุนเดิมคือ  การสำรวจความคิดของครอบครัว­  พอใจอะไรบ้างของครอบครัวตัวเองและอยากให้ครอบครัวตัวเองปรับปรุงอะไร โดยสมาชิกวางแผนร่วมกัน­  ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ปรึกษาปัญหาครอบครัว­  ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้เข้าใจความรู้สึกซึ่งกันและกัน­  ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้เห็นข้อบกพร่องของตนเอง­  เกมส์หรรษาพาครอบครัวมีความสุขเช่น  เหยียบลูกโป่ง หากุญแจ เปิดหีบ ทำให้เห็นความสมัคคี ความกระตือรือร้นของครอบครัว ทำให้ครอบครัวมีความสุขร่วมกัน­  กลุ่มเยาวชนประชาสัมพันธ์เสียงตามสายให้ครอบครัวไปทำบุญทุกวันพระ­  ทำการสำรวจความพึ่งพอใจและการพัฒนาครอบครัวของตนเอง­  ให้คำปรึกษาปัญหาครอบครัว­  เกมส์ครอบครัว­  เสียงตามสาย­  ครอบครัวสายบุญ
ชุมชน­  กิจกรรมรณรงค์ เช่น โทษของสารเสพติด  ชุมชนปลอดเหล้า­  กิจกรรมกีฬาสัมพันธ์­  กิจกรรมทำความสะอาดชุมชน­  อบรมให้ความรู้­  สนทนากลุ่มย่อย­  ส่งเสริมพัฒนาการเช่นเล่านิทาน  ทำของเล่น เล่นกับน้อง­  รณรงค์­  กีฬาสัมพันธ์­  ทำความสะอาดชุมชน­  อบรม­  สนทนากลุ่มย่อย­  เล่านิทาน­  ทำของเล่นให้น้อง

พักรับประทานอาหารกลางวัน

กิจกรรมภาคบ่าย

  1. ทำความสะอาดพื้นที่จัดกิจกรรม
  2. เกมส์ยิงสัตว์
  3. ดูภาพ ปริศนา
  4. วางแผนการดำเนินงาน 6 เดือน
    • เกณฑ์ในการคัดเลือกดังนี้
      • เป็นกิจกรรที่เยาวชนสามารถทำได้จริง
      • เป็นกิจกรรมที่สามารถทำได้เลย ไม่ต้องรอ
      • เป็นกิจกรรมที่อาจจะมีอยู่แล้ว หรือกำลังทำอยู่
      • เป็นกิจกรรมที่สอดคล้อง ตรงกับสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชนบ้านเรา  เราชอบและอยากทำ
      • เมื่อคัดเลือกเสร็จแล้วให้ เขียนแผนการดำเนินกิจกรรม ดังตารางด้านล่าง
ชื่อกิจกรรม 
กลุ่มเป้าหมาย 
ระยะเวลา 
ใครบ้างที่เข้ามาช่วย 
สิ่งที่ต้องการให้ช่วย 
เหตุผลที่เลือก 
  1. นำเสนอ
  2. ผู้อำนวยการการศึกษา 2 ตำบล ให้ความมั่นใจแก่กลุ่มเด็กในการทำงาน

ผลการดำเนินกิจกรรม

ภาพ เยาวชนที่ร่วมกันสะท้อนปัญหา และร่วมกันออกแบบกิจกรรม เพื่อเด็กและเยาวชนในพื้นที่

  • นำภาพปริศนา และภาพวาดเรื่องความเท่าเทียม ภาพวาดคุณเดวิด ในการสนทนา เรื่องการทำงานเพื่อความช่วยเหลือครอบครัวนั้น
  • การวางแผนกิจกรรม ผลการดำเนินการดังนี้
ตำบลหัวนากิจกรรมที่ 1กิจกรรมที่ 2กิจกรรมที่ 3
ชื่อกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดรณรงค์ต่อต้านยุงบายเล่านิทานให้น้องฟังชมรมกีฬาเพื่อเด็กและเยาวชน
กลุ่มเป้าหมาย12-18 ปีคนในชุมชน0-5 ปีศพด.12-18 ปี
ระยะเวลาสิงหาคม ณ โรงเรียนบ้านอีเติ้ง และพุทธศาสตร์ดอนโด่เดือนสิงหาคมเทศบาลตำบลหัวนา
ใครบ้างที่เข้ามาช่วยเทศบาลรพสต.โรงเรียนผู้นำชุมชนเทศบาลตำบลหัวนาครูศูนย์เด็กเทศบาลผู้ใหญ่บ้าน
สิ่งที่ต้องการให้ช่วยงบฯอุปกรณ์การรณรงค์เล่านิทาน  เล่นเกมส์ ละครอุปกรณ์กีฬา
เหตุผลที่เลือก   
ตำบลเขมราฐกิจกรรมที่ 1กิจกรรมที่ 2กิจกรรมที่ 3
ชื่อกิจกรรมสร้างเกมส์พัฒนาสมองเด็กจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาเด็กอายุ 12-18 ปีรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด สิ่งมึนเมา
กลุ่มเป้าหมาย0-5 ปีอายุ 12-18 ปีชุมชน
ระยะเวลากันยายน 6022 กค เป็นต้นไปสค 2560 เป็นต้นไป
ใครบ้างที่เข้ามาช่วยเทศบาล ( กองการศึกษา)ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรพ. ฝ่ายเวชฯรพ.รพสต.มสป
เทศบาล
ตำรวจ  เทศบาลมสป.
สิ่งที่ต้องการให้ช่วยเสริมทักษะความรู้เรื่องการเสริมพัฒนาการเด็กช่วยให้ความรู้ ทักษะขั้นตอนการให้คำปรึกษาที่ถูกต้องงบอุปกรณ์การให้ความรู้ข้อมูลการให้ความรู้อำนวยความสะดวกเวลาจัดกิจกรรม
เหตุผลที่เลือก   

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม

เทศบาลตำบลหัวนา

  • ขอยืนยันว่าเทศบาลมีภารกิจและงบประมาณเรื่องนี้อยู่แล้ว เช่น เรื่องกีฬาต่อต้านยาเสพติด เช่น ปีนี้มีกีฬาฟุตบอล 7 คน / งบประมาณ 50000 บาท สภาจะพิจารณาเดือนสิงหาคมนี้
  • กีฬายาเสพติด เทศบาลจะได้จัดเป็นประจำทุกปี และมีงบประมาณในการสนับสนุน ( เรามีงบแล้ว 150000 บาท )
  • มีโครงการเกี่ยวกับเยาวชน ในการพัฒนาศักยภาพแกนนำ 25 คน มีงบฯ 50000 บาท เราก็สามารถเข้าไปเป็นคณะทำงานได้เลย
  • การเล่านิทานให้น้องฟัง เราสามารถทำได้เลยเพราะอยู่ในความรับผิดชอบของพี่ปูเอง  เราจะได้จัดเวทีพูดคุยในรายละเอียด
  • กิจกรรมรณรงค์ เป็นกิจกรรมที่จำเป็นของทุกพื้นที่ จึงอยู่ในแผนงานพัฒนาเยาวชน
  • ดังนั้น กิจกรรมที่น้องเขียนไว้ พี่คิดไว้แล้ว ดังนั้นขอตัวแทนเยาวชน สัก 5 คน เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุม  นอกจากนี้ยังมีอบรมธรรมะ  พี่รับประกันว่ากิจกรรมเยาวชนเราจะมีตลอดปี
  • ทิศทางต่อไป พี่จะได้นัดหมายคณะทำงานไปปรึกษาและทำแผนการทำงานร่วมกัน  เราจะไปเปิดบัญชีสภาเยาวชนตำบลหัวนา  บัญชีนี้จะให้เป็นงบประมาณของเยาวชนตำบลหัวนา  ทำเป็นกองทุน ทำให้เราขับเคลื่อนกิจกรรมได้ง่ายขึ้น ขอรับรองว่าถ้าพี่ยังอยู่เราจะมีงบประมาณมาบริหาร ขึ้นกับว่าน้องๆ จะมีความเข้มแข็งเท่าไร

ดร.สนอง

  • ในนามเทศบาลเทพวงศา เราอยู่ร่วมกันสองวันหนึ่งคืน เราต้องการผลงานวันนี้ กิจกรรมและแผนงาน  แต่สิ่งที่ได้กำไรขึ้นมาได้คณะทำงานสภาเด็กและเยาวชนตำบลเทพวงศามา 1 คณะ
  • หลังจากนี้ไป สภาเด็กและเยาวชนของเทศบาลจะเกิดขึ้น โดยมีกองการศึกษาเป็นที่ปรึกษา และมีพี่แขก พี่สำลี เป็นผู้ดูแลเรา
  • ครู ร่างโครงการสภาเด็กของเทศบาล ที่ตั้งงบไว้ 100000 บาท โดยกลับไปนี้จะไปแต่งตั้งสภาเด็กและเยาวชน ซึ่งปรารถนาว่าก่อนที่จะเกษียณ จะสำเร็จ

ปิดกิจกรรมค่าย ด้วยการประเมินผลค่าย การกล่าวความรู้สึก และการจับมือร่ำลา