จากการเป็นภาคีทำงานพัฒนาในพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว ประเด็นสุขภาพ อนามัยการเจริญพันธ์ุของประชากรข้ามชาติ ในพื้นที่อำเภอเขมราฐ ร่วมกับ่ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี โดย ได้มีการดำเนินโครงการร่วมกันมา 2 ระยะแล้ว คือ
ระยะที่ 1 โครงการ การพัฒนาเครือข่ายการดูแลและส่งเสริมสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาวะทางเพศ ( SRH ) ของแรงงานหญิงลาว ( SRH1) ระยะที่ 1 ระหว่างปี 2557-2559
ระยะที่ 2 โครงการการพัฒนากลไกการทำงานแบบบูรณาการระดับอำเภอในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพอนามัยเจริญพันธ์ุและสุขภาพทางเพศ ของแรงงานหญิงลาว ( SRH2) ระหว่างปี 2559-2561
โดยการทำงานดังกล่าวมีภาคีความร่วมมือในพื้นที่หลักคือ หน่วยงานสาธารณสุข (รพ.สต. และ รพ. )และมีเสี่ยวสุขภาพ (อาสาสมัครทั้งคนไทยและคนลาวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ) เป็นกลไกในการขับเคลื่อนในระดับชุมชน และโครงการดังกล่าวได้รับการความร่วมมือจาก ผู้นำชุมชน ผอ.โรงเรียน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรรัฐระดับท้องถิ่น เช่น อบต. อบท.
การทำงานดังกล่าว ทำให้เกิดการร่วมกลุ่มภายในชุมชนที่เข้มแข็ง ประชากรลาวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพอนามัยเจริญพันธ์ุ และสิทธิต่างๆ ที่พึ่งได้รับในระหว่างที่อยู่ในชุมชน รู้จักแหล่งบริการสุขภาพและช่องทางในการเข้ารับบริการสุขภาพ ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ตระหนักถึงสิทธิมนุษย์ชน ให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชากรลาวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการโดยมีทีมเสี่ยวสุขภาพเข้าร่วมบริการ ให้บริการอย่างเข้าใจ เป็นมิตร และคำนึงถึงความละเอียดอ่อนในมิติชาติพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีการระดมทรัพยากรในในการดูแลสุขภาพประชากรลาวในพื้นที่อีกด้วย
จากการทำงานในพื้นที่อย่างจริงจัง ทำให้ ศ.ดร. พิมพ์วัลย์ บุญมงคล หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำคณะผู้ทรงคุณวุฒิ จาก สำนัก 9 สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส. ) ประกอบด้วย
- นายพิทยา จินาวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ
- รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ
- นายกฤษฎา บุญชัย ผู้ทรงคุณวุฒิ
- นายธวัชชัย ไทยเขียว ผู้ทรงคุณวุฒิ
- นายวิวัฒน์ ตามี่ ผู้ทรงคุณวุฒิ
- นายรณภูมิ สามัคคีคารมย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ
- นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผอ.สำนัก 9 สสส
- นายสกล โสภิตอาชาศักดิ์ สำนัก 9
- นางสาวกนกพร เสริมนอก สำนัก 9
ลงพื้นที่เยี่ยมเพื่อประเมินต้นแบบที่ประสบความสำเร็จของการพัฒนากลไกการดูแลสุขภาพประชากรข้ามชาติตั้งแต่ระดับชุมชน-ระบบบริการสุขภาพของรัฐ ในวันที่ 30 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยมีได้มีการแลกเปลี่ยนการทำงานประเด็นระบบบริการและการจัดระบบบริการที่ทางโรงพยาบาลที่สะท้อนการบริการที่เป็นมิตร และการทำงานของเสี่ยวสุขภาพที่ให้บริการกับประชากรข้ามชาติลาวในชุมชนของพื้นที่อำเภอเขมราฐ อำเภอสิรินธร และอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี

ภาพ 1 ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะทำงาน เสี่ยวสุขภาพในพื้นที่อำเภอเขมราฐ อำเภอสิรินธร อำเภอบุณฑริก เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการแบ่งปัน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

ภาพ 2 บรรยากาศการลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน กลุ่ม 1 ทีมผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาพจากซ้าย – ขวา ประกอบด้วย )
- รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
- นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผอ.สำนัก 9 สสส
- นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม

ภาพ 3 บรรยากาศการลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน กลุ่ม 2 ทีมผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยนายพิทยา จินาวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ (ที่ปรึกษาด้านส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ) นายรณภูมิ สามัคคีคารมย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นายสกล โสภิตอาชาศักดิ์ สำนัก 9

ภาพ 4 เยี่ยมศูนย์เสี่ยวสุขภาพในชุมชน ซึ่งเป็นร้านขายอาหารเล็กๆ ในหมู่บ้านที่มีประชากรลาวอาศัยอยู่