โครงการพัฒนาระบบการบริหารจัดการกลุ่มความหลากหลายทางเพศ (กะเทย เกย์ ทอม ดี้) เพื่อการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพและเครื่องมือในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พื้นที่อำเภอนาตาล และเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
ระยะเวลาทั้งหมดในการดำเนินงานโครงการ ……..9……. เดือน เริ่มโครงการ วันที่ …1… เดือน มกราคม พ.ศ. 2559 ถึง วันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนทั้งสิ้น 35,500 บาท ( สามหมื่นห้าพันห้าร้อยบาทถ้วน )
2.วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการกลุ่มเพศทางเลือก (กะเทย เกย์ ทอม ดี้) ให้การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพและเครื่องมือในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดย
- เพื่อจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเพศทางเลือกในพื้นที่อำเภอเขมราฐ อำเภอนาตาล
- เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มและค้นหาแกนนำกลุ่มรุ่นใหม่ พื้นที่อำเภอเขมราฐ อำเภอนาตาล
- เพื่อให้แกนนำรุ่นใหม่มีความรู้ และสามารถให้คำแนะนำเรื่องการตรวจเลือดได้
- เพื่อให้กลุ่มเพศทางเลือกเข้าถึงเครื่องมือในการป้องกันได้ง่ายขึ้น
กิจกรรมและผลการดำเนินโครงการ ดังนี้
ผลที่กำหนดในโครงการที่ได้รับอนุมัติ | ผลที่เกิดจากการดำเนินการ | ||||||||||||||
|
ประชุมครั้งที่ 1 วันที่ 25 มกราคม 2559
แกนนำผู้เข้าร่วมกิจกรรม 10 คน ได้ซักซ้อมความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการและมีการวางแผนการทำ Mapping ประชุมครั้งที่ 2 วันที่ 23 มิถุนายน 2559 แกนนำผู้เข้าร่วมกิจกรรม 10 คน – มีการออกแบบกิจกรรมพบกลุ่มความหลากหลายทางเพศ – ฝึกการเป็นวิทยากรดำเนินกิจกรรที่ได้รับมอบหมาย – จัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม ประชุมครั้งที่ 3 วันที่ 1 กันยายน 2559 แกนนำผู้เข้าร่วมกิจกรรม 10 คน – สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา – ตรวจสอบข้อมูล Mapping – แผนการดำเนินงานต่อไป |
||||||||||||||
2. จัดทำ Mapping Update จำนวน กะเทย เกย์ ทอม ดี้ อำเภอเขมราฐ อำเภอนาตาล อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี
|
มีฐานข้อมูลกลุ่มความหลากหลายทางเพศในพื้นที่เขมราฐ และอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 210 คน แยกตามอัตลักษณ์ทางเพศ เป็นคนในพื้นที่เขมราฐ 135 คน อำเภอนาตาล 65 คน และมาจากพื้นที่อำเภออื่นๆ จำนวน 10 คน
|
||||||||||||||
3. จัดกิจกรรมพบกลุ่มความหลากหลายทางเพศ (กะเทย เกย์ ทอม ดี้) โดยการสนับสนุนบทบาทแกนนำกลุ่มฟ้าสางที่ริมโขงจัดกิจกรรมพบกลุ่ม |
จัดกิจกรรมพบกลุ่มจำนวน 6 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวม 71 คน จากการประเมินผลก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มความหลากหลายทางเพศที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มมีความรู้ความรู้เรื่องเอดส์ การป้องกัน การดูแลสุขภาพทางเพศที่ถูกต้อง โดยก่อนเข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้คิดเป็นร้อยละ 65 และหลังเข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ที่ถูกต้องร้อยละ 85 ทั้งนี้แกนนำกลุ่ม MSM มีความมั่นใจในการแนะนำข้อมูลเรื่องเอดส์ การดูแลสุขภาพทางเพศ และการตรวจเลือดแบบสมัครใจ โดยร้อยละ 34 เคยแนะนำให้เพื่อนไปตรวจเลือด HIV
แกนนำจำนวน 6 คน มีความมั่นใจในการแนะนำข้อมูลเรื่องเอดส์และการป้องกัน สามารถเป็นผู้ให้ข้อมูลให้กับเพื่อนๆ ได้ |
||||||||||||||
4. สนับสนุนถุงยางอนามัย ณ จุดบริการ
|
มีจุดบริการถุงยางอนามัย 9 จุด ได้แก่
อำเภอเขมราฐ : 7 จุด 1. ซุ้มโค้ก บริเวณจุดผ่อนปรนทางการค้า อ. เขมราฐ 2. ร้านเสริมสวยพรรณวี ต. หนองสิม 3. บ้านคุณมุนี ต. หนองผือ 4. บ้านโคมแดง หลังไฟฟ้า ( บ้านแกนนำ) 5. ร้านส้มตำแม่หล่อง 6. บ้านน้องปอย ต. เจียด อำเภอเขมราฐ 7. สำนักงานมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการแบ่งปัน อำเภอนาตาล : 2 จุด 1. บ้านน้องฟรุ๊ก บ้านโนนตาล 2. บ้านน้องแทน หลังโรงเรียนดำรงวิทยาคาร – มกราคม- สิงหาคม 2559 แจกถุงยางอนามัย 2,142 ชิ้น – โดยจุดดังกล่าวมีถุงยางอนามัย และสารหล่อลื่นไว้แจกจ่ายให้แก่กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ และกลุ่มคนทั่วไป |
ปัญหาที่พบ
ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการกลุ่มเพศทางเลือก (กะเทย เกย์ ทอม ดี้) ให้การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพและเครื่องมือในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหาที่พบคือ
- ความยากลำบากในจัดทำ Mapping และรวบรวมรายชื่อกลุ่มความหลากหลายทางเพศ เนื่องจากแกนนำสามารถเข้าถึงกลุ่มความหลากหลายทางเพศได้ไม่ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน มีการรวบรายชื่อจากการทำ snow ball เท่านั้น นอกจากนี้ แกนนำและคนทำงานไม่มีตัวเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างกะเทยรุ่นเก่าและกะเทยรุ่นใหม่
- แกนนำกลุ่มความหลากหลายทางเพศรุ่นใหม่ที่ค้นพบไม่มีเวทีในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง
- โดยวิถีเพศของกลุ่มความหลากหลายทางเพศในพื้นที่พบว่ากลุ่มความหลากหลายทางเพศรุ่นใหม่ยังไม่มั่นใจในอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง บางคนยังไม่สามารถระบุได้ ส่งผลต่อการพัฒนาและออกแบบดูแลสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ของตนเอง นอกจากนี้กลุ่มความหลากหลายทางเพศกลุ่มเดิม ก็มีความลื่นไหลทางเพศเพิ่มมากขึ้น และบางคนไม่เปิดเผยอัตลักษณ์ของตนเองทำให้ไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลและจัดกิจกรรมพบกลุ่มความหลากหลายทางเพศได้
- ขาดแคลนถุงยางอนามัยที่เหมาะสมกับความต้องการในการแจกจ่าย ( ขาดแคลนถุงยางอนามัยขนาด 49) ให้กับจุดจ่ายถุงยางอนามัย
- ทัศนคติ “เอดส์ ไม่ตรวจ ไม่ติด” และความกังวลต่อภาวะหลังการติดเชื้อ HIV ประกอบกับการเลือกปฏิบัติและการตีตราในกลุ่มเกย์ กะเทย ทำให้กลุ่มความหลากหลายทางเพศตัดสินใจไม่ตรวจเลือดHIV ถึงแม้จะมีข้อมูลเรื่อง HIV
ข้อเสนอแนะ
การดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาระบบการบริหารจัดการกลุ่มความหลากหลายทางเพศ มีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ควรมีแกนนำกลุ่มความหลากหลายทางเพศเข้าร่วมผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มในระดับพื้นที่ เพื่อลดช่องว่างระหว่างเพศ จะทำให้การเข้าถึงมีความละเอียดอ่อนมากยิ่งขึ้น
2.ควรมีกิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่มความหลากหลายทางเพศ การสนับสนุนข้อมูลเรื่องสุขภาพอนามัยเจริญพันธ์ ระบบบริการด้านสุขภาพของรัฐในกลุ่มความหลายหลายทางเพศ โดยแกนนำในแต่ละกลุ่มจะมีบทบาทในการประสานงานกับผู้ประสานงานหลัก ประสานงานกับสมาชิกเพื่อส่งต่อข้อมูลข่าวสาร แจกจ่ายถุงยางอนามัย และร่วมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งการจัดกิจกรรมดังกล่าวจำเป็นต้องมีการสนับสนุนเครื่องมือป้องกัน สื่อข้อมูล และจัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างโครงข่ายให้มีความชัดเจน มั่นคงในด้านการปฏิบัติงาน
3.ในการสนับสนุนนโยบายยุติปัญหาเอดส์ โครงการที่ดำเนินในกลุ่มความหลากหลายทางเพศควรมีประเด็น 1) การค้นหาเข้าถึง 2)การตรวจรักษา และ3)การคงอยู่ในระบบ โดยการดำเนินงานที่ครอบคลุมและรวดเร็ว ลดกระบวนการทำงานที่ทับซ้อนและละเอียดอ่อนในงานบริการ
4.ควรมีจุดบริการให้คำปรึกษาให้กับกลุ่มความหลากหลายทางเพศ ที่สามารถให้คำแนะนำที่หลากหลายประเด็นเกี่ยวกับเพศภาวะ และสุขภาวะทางเพศ นอกจากนี้ยังคาดหวังให้จุดบริการดังกล่าวสามารถให้การสนับสนุนด้านวิชาการให้กับคนทำงาน เป็นตัวกลางในการประสานส่งต่อ และสนับสนุนงานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อ
ความช่วยเหลือและการสนับสนุนที่ต้องการ
- งบประมาณในการสนับสนุนกิจกรรมกลุ่มแกนนำเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรมให้กับเพื่อนสมาชิกที่ต่อเนื่อง
- ถุงยางอนามัย และสารหล่อลื่น
- สื่อ โฆษณา
- การสร้างภาคี ( โรงเรียน สาธารณสุข ร.พ. เทศบาล กศน. ) ความร่วมมือในการดำเนินงานใน
- การพัฒนาศักยภาพภาพคนทำงานในประเด็นงานบริการ การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีความหลากหลายทางเพศ
- วางแผนงานต่อไปในอนาคต
- ส่งเสริมให้ MSM ในการดำเนินงานยุติปัญหาเอดส์
- เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริการ พัฒนาแหล่งบริการ จุดรวมตัว พื้นที่ปลอดภัย
- ประชาสัมพันธ์เรื่องการป้องกัน การตรวจเลือด การแจกจ่ายถุงยางอนามัยอย่างจริงจัง ครอบคลุมพื้นที่
- พัฒนาความสามารถแกนนำรุ่นใหม่
- สื่อข้อมูล เพื่อสนับสนุนแกนนำที่ทำงานในพื้นที่