วิธีใช้ถุงยางอนามัยสุขและปลอดภัย

มีใจรักและเชื่อมั่น ว่าถุงยางช่วยให้มีความสุขและปลอดภัย
การใช้ถุงยางไม่ใช่เรื่องยาก ไม่มีขั้นตอนวุ่นวายอะไร และถุงยางมีความเหนียวพอไม่แตกง่ายในการสวมใส่อย่างปกติ

การสวมใส่ก็ง่ายๆ เพียงฉีกซอง แล้วก็จับมาใส่ ถ้าใส่ถูกด้านจะรูดลงง่าย รูดลงไปให้สุด แล้วดูตรงหัวจะมีปลายเป็นกระเปาะรับน้ำอสุจิ ถ้ามีลมก็ใช้มือบีบนิดเดียวลมก็หายไปแล้ว ไม่ต้องกังวลอะไร ถ้าไม่ใส่จะกังวลมากกว่านี้ (มีเพศสัมพันธ์กันไปตั้งนานแล้ว หลายเดือนผ่านไป ยังกังวลไม่เลิก)

ตอน ที่ใส่ เราใส่ในเวลาที่อวัยวะเพศของผู้ชายแข็งตัวเต็มที่ ซึ่งทำให้ถุงยางแนบกระชับ และเมื่อเสร็จกิจแล้ว ผู้ชายหลั่งน้ำอสุจิออกมา จะทำให้อวัยวะเพศอ่อนตัว ควรเอาออกมาจากอวัยวะเพศหญิงก่อนที่จะอ่อนตัวมากและจะสามารถถอดถุงยางออกได้ ง่าย ที่สำคัญคือ มีพกติดตัวไว้บ้างเผื่อกะทันหันจะได้มีใช้และเตรียมให้พอใช้ด้วยนะ

การใช้ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยเป็นเครื่องมือคุมกำเนิดชนิดเดียวที่สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับถุงยางอนามัยหลายเรื่อง  ว่าด้วยเรื่องของข้อมูลที่คลาดเคลื่อนของถุงยางอนามัยถุงยางรั่วซึม???? ไม่ได้คุณภาพ??? ถ้ามันแตกละ????

เชื้อเอชไอวีมีขนาดเล็กกว่าตัวอสุจิ 30 เท่า จึงมีข้อสงสัยว่าเชื้อเอชไอวีจะสามารถเล็ดลอดผ่านผนังถุงยางอนามัยได้หรือ ไม่ สถาบันสุขภาพแห่งชาติและสหพันธ์ผู้บริโภคของสหรัฐอเมริกา ได้ค้นคว้าและทดลองพบว่า แม้ผนังถุงยางอนามัยจะถูกขยายถึง 2,000 เท่าก็ยังไม่เห็นการรั่วซึม เมื่อขยายผนังถุงยางอนามัยเป็น 30,000 เท่า ซึ่งเป็นกำลังขยายที่สามารถมองเห็นตัวเชื้อเอชไอวีได้นั้นพบว่า ผนังถุงยางอนามัยมีลักษณะเป็นหลุมเล็กๆ แต่ก็ไม่เห็นรอยรั่วซึม     

ส่วน ใหญ่ของเชื้อเอชไอวี ต้องอาศัยเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งมีอยู่ในน้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด เป็นที่อยู่ หาก ใช้ถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์ ถุงยางอนามัยจะช่วยเก็บกักน้ำอสุจิและน้ำในช่องคลอด ป้องกันไม่ให้ผ่านเข้าไปในอวัยวะเพศแต่ละฝ่ายได้ ที่สำคัญ เซลล์เม็ดเลือดขาวมีขนาดใหญ่กว่าผนังถุงยาง

เรา มักจะได้ยินคำว่า ถุงยางอนามัยป้องกันไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำให้หลายคนมีคำถามถึงคุณภาพถุงยางอนามัยความจริงก็คือ ถุงยางอนามัยเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งหมายความว่ามีการควบคุมคุณภาพเป็นพิเศษ ถุง ยางอนามัยที่ผลิตในประเทศไทยมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และไทยก็เป็นประเทศที่ส่งออกถุงยางอนามัยไปทั่วโลก จนได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพ แต่ถุงยางอนามัยจะป้องกันไม่ได้นั้น ก็เพราะ…..

ข้อผิดพลาดไม่ได้เกิดจากถุงยางอนามัยแต่เกิดจากผู้ใช้ ที่พบเป็นประจำคือสวมถุงยางอนามัยก่อนถึงจุดสุดยอด หมาย ความว่ามีการสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปก่อน เมื่อใกล้ที่ผู้ชายจะถึงจุดสุดยอดแล้วจึงค่อยนำถุงยางอนามัยมาสวม ซึ่งหมายความว่ายังไม่ปลอดภัยทั้งการตั้งครรภ์และการได้รับเชื้อเอชไอวี

อีก อย่างหนึ่งคือถึงแม้จะสวมถุงยางอนามัยก่อนสอดใส่ แต่เมื่อฝ่ายชายถึงจุดสุดยอดแล้วยังไม่ถอนอวัยวะเพศออกมาจากช่องคลอด อวัยวะเพศก็จะเริ่มอ่อนตัวลงจนถุงยางอนามัยหลุดจากอวัยวะเพศชายโดยไม่รู้ตัว ได้

ที่สำคัญคือเรามักจะเลือกใช้ถุงยางอนามัยกับบางคนหรือบางสถานการณ์เท่านั้น   อย่างไรก็ตามต้องตระหนักว่าบางสถานการณ์ เช่น ขณะที่กำลังสนุกสนานในหมู่เพื่อน หรือความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด การไปเที่ยวด้วยกัน  การ ดื่มเหล้า การใช้สารเสพติดอาจจะทำให้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความรอบคอบในการ ตัดสินใจน้อยลง ทำให้ไม่ใช้ถุงยางอนามัย หรือใช้ไม่ถูกวิธี

ถุงยางอนามัย คือเครื่องมือแพทย์ชนิดหนึ่ง ที่ต้องผ่านการตรวจสอบจาก อย. ดังนั้นเรื่องคุณภาพของตัวถุงยางมีความปลอดภัย 100 % แต่ต้องใช้ให้ถูกต้องคือ
* ใช้ก่อนมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่
* ใช้ถุงยางที่ยังไม่หมดอายุ
* ใช้ให้เหมาะสมกับขนาดอวัยวะเพศของตัวเอง
* ใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
* ใช้เพียงชั้นเดียวเท่านั้น

ถุงยางอนามัย: สัญลักษณ์ของความรับผิดชอบ

หลายคนหรือแม้แต่เราอาจมีทัศนะต่อการใช้ถุงยางอนามัยว่า เป็นสัญลักษณ์ของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเรื่องเพศ เช่น การเที่ยวสถานบริการ การนอกใจ การไม่ซื่อสัตย์ต่อคู่  หรือการมีประสบการณ์ทางเพศมาก่อน ฯลฯ

ทั้งที่คุณสมบัติของถุงยางอนามัยคืออุปกรณ์ที่ใช้แล้วเกิดความปลอดภัยทั้งสองฝ่าย    ป้องกัน การตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กล่าวได้ว่าการใช้ถุงยางเป็นการแสดงถึงความห่วงใยซึ่งกันและกัน ความรับผิดชอบด้วยกัน โดยไม่ผลักให้เป็นภาระของฝ่ายหญิงแต่เพียงฝ่ายเดียวในการคุมกำเนิด การเปลี่ยนมุมมองเรื่องถุงยางอนามัยหรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคู่ เรื่องถุงยางอนามัย เป็นเรื่องที่อาจจะทำให้เราและคู่มีความเข้าใจกันมากขึ้น

ถุงยางอนามัยขัดขวางความเป็นธรรมชาติ?????

สิ่งที่ได้ยินเป็นประจำสำหรับผู้ที่ไม่นิยมใช้ถุงยางอนามัย คือ ไม่สนุก ไม่เป็นธรรมชาติ ไม่แนบชิดสนิทใจ  แต่โดยแท้จริงความสุขทางเพศขึ้นกับหลายปัจจัย  ลอง สังเกตง่าย ๆ ว่า ในการมีเพศสัมพันธ์แต่ละครั้ง เราอาจจะมีความสุขทางเพศไม่เท่ากัน ถึงแม้จะมีเพศสัมพันธ์กับคู่คนเดิมก็ตาม ความพร้อม ต่อการร่วมเพศ บรรยากาศ การเล้าโลม ล้วนเป็นปัจจัยที่เราต้องให้ความสำคัญเพื่อความสุขทางเพศของทั้งสองฝ่าย การ ใช้ถุงยางอนามัยเป็นประจำ เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยฝึกให้เกิดความคุ้นชิน หลายคนยืนยันว่าหลังจากได้ใช้ถุงยางอนามัยบ่อยครั้งขึ้น ก็กลายเป็นความเคยชิน รู้สึกเป็นเรื่องธรรมดาไม่ได้รู้สึกว่าไม่เป็นธรรมชาติ ความจริงการใส่เสื้อผ้าก็ไม่ใช่เรื่องธรรมชาติแต่เป็นเรื่องที่ฝึกฝนจน รู้สึกคุ้นเคย ทำให้รู้สึกว่าถ้าไม่ใส่จะกลายเป็นเรื่องผิดปกติ หลาย คนรู้สึกกังวลใจว่า การใช้ถุงยางอนามัยเป็นเรื่องยุ่งยาก มีหลายขั้นตอนจนเกิดความรู้สึกว่า ทำให้สะดุดอารมณ์เพศที่กำลังดำเนินอยู่ แต่ถ้าลองทำความเข้าใจว่าก่อนที่จะสอดใส่อวัยวะเพศนั้น เราสามารถที่จะใส่ถุงยางอนามัย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายชายที่เป็นเจ้าของอวัยวะเพศเป็นผู้สวมถุงยางเอง หรือคู่เป็นผู้สวมให้ไปพร้อมกับการเล้าโลม เพราะการสัมผัสหรือกระตุ้นอวัยวะเพศชายในระหว่างสวมใส่พร้อมกับการเล้าโลม เป็นเรื่องที่คู่กระทำได้ไม่ยาก

สำหรับ ผู้ชายหลายคนที่หลั่งเร็ว ผลพลอยได้จากการใช้ถุงยางอนามัยคือ ช่วยยืดเวลาการหลั่งออกไปได้ทั้งถุงยางอนามัยเองก็เป็นที่ชื่นชอบของผู้หญิง จำนวนมาก เนื่องจากหลังจากมีเพศสัมพันธ์แล้ว ผู้หญิงยังมีความรู้สึกว่า อวัยวะเพศของตัวเองยังสะอาดอยู่  และหากจะสัมผัสกันและกันหลังจากมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว ก็ไม่ต้องกังวลใจว่า จะต้องรีบร้อนไปทำความสะอาดร่างกาย

ความหลากหลายของถุงยางอนามัยปัจจุบันการพัฒนาเรื่องถุงยางเพื่อตอบสนองรสนิยมของผู้ใช้เป็นไปอย่างหลากหลาย เช่น

สี

ปัจจุบันถุงยางอนามัยผลิตออกมาหลากหลายสี เพราะสีก็มีส่วนในการสร้างบรรยากาศ และความรู้สึกที่ดีขึ้น

กลิ่น

หลายคนมีความสุขและตื่นเต้น ถ้าคู่ช่วยกันเลือกกลิ่นของถุงยางอนามัยที่จะใช้ด้วยกัน ซึ่งก็มีหลากกลิ่น เช่น กล้วยหอม ผลไม้รวม ทุเรียน มิ้นต์ เป็นต้น

ขนาด

ถุงยางอนามัยสามารถขยายได้ใหญ่กว่าอวัยวะเพศมาก  ในท้องตลาดก็จะมีถุงยางอนามัยหลายขนาด เช่น 49 ม.ม. 51 ม.ม.และ 52 ม.ม. และ 56 ม.ม. ถ้ารู้สึกว่าใช้ขนาดใดแล้วเหมาะก็เลือกได้ตามความต้องการของผู้ใช้

รูปแบบ

ถุงยางอนามัยหลายยี่ห้อผลิตออกมาหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ทั้งแบบผิวเรียบ  เป็นลอน ผิวขรุขระ และอีกหลายอย่าง เพื่อเพิ่มอรรถรสในการมีเพศสัมพันธ์ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทางเพศ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553