โครงการประเมินความต้องการและส่งเสริมการป้องกันเอดส์ในกลุ่มพนักงานบริการหญิงร้านคาราโอเกะ

โครงการประเมินความต้องการและส่งเสริมการป้องกันเอดส์ในกลุ่มพนักงานบริการหญิงร้านคาราโอเกะ

 พื้นที่เทศบาลตำบลหัวนา อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

 ที่มาและความสำคัญ

จังหวัดอุบลราชธานี โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดรายงานว่านับตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 ถึงเดือนมีนาคม 2557 พบว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 6,328 คน เสียชีวิตแล้ว 781 คน แบ่งเป็นเพศชาย 4,328 คน เพศหญิง 2,000 คน กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคล้ายคลึงกับภาพรวมของทั้งประเทศคืออยู่ในวัยทำงานที่มีอายุ 25-34 ปี มากถึงร้อยละ 50.3 ทั้งนี้เป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด ร้อยละ 47.8 รองลงมาคืออาชีพรับจ้าง ร้อยละ 27.6 โดยมีปัจจัยเสี่ยงมาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันมากที่สุดร้อยละ 69.6  ติดเชื้อจากมารดา ร้อยละ 3.37 และการใช้สารเสพติดชนิดฉีด ร้อยละ 2.22 บริเวณพื้นที่ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์สะสมมากที่สุดคือ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จำนวน 1,279 คน และพบว่าอัตราเฉลี่ยของผู้ติดเชื้อจะพบมากในพื้นที่ชายแดน ยิ่งเป็นเขตอำเภอที่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและมีอาณาบริเวณที่ติดกับชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน จำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์จะมีจำนวนมากกว่าอำเภอที่ไม่มีลักษณะเด่นดังกล่าว[1]

สภาพพื้นที่ตำบลหัวนามีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะธุรกิจร้านวัสดุก่อสร้าง ร้านค้าทางการเกษตร ตลาดนัด  ส่งผลให้มีสถานบันเทิง คือร้านคาราโอเกะที่มีพนักงานบริการทั้งชาวไทย-ชาวลาวเปิดให้บริการในตำบลและพื้นที่ใกล้เคียงจำนวน 9 ร้าน ซึ่งมีพนักงานบริการหญิงให้บริการที่ร้านตลอดเวลา นอกจากนี้ มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการแบ่งปัน รายงานว่า ในปี พ.ศ. 2557 มีหญิงบริการทำงานที่ร้านคาราโอเกะในพื้นที่ตำบลหัวนา เฉลี่ยประมาณ 50-80 คน ในปี พ.ศ. 2559 สถานการณ์การเมืองตึงเครียด มีคำสั่งจากรัฐบาลในการปิดสถานบริการรวมถึงร้านคาราโอเกะ  พนักงานบริการส่วนหนึ่งย้ายไปทำงานที่อื่น บางส่วนยังคงอยู่ในพื้นที่และเปลี่ยนรูปแบบการบริการทางเพศ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า เช่น การติดต่อลูกค้าผ่านโทรศัพท์ ร้านเสริมสวย รีสอร์ท จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความยุ่งยากและซับซ้อนในการควบคุมโรค นอกจากนี้แล้วยังส่งผลให้พนักงานบริการที่ยังให้บริการในพื้นที่เข้าไม่ถึงบริการด้านสุขภาพ ไม่มีเครื่องมือในการป้องกัน ไม่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อเจ็บป่วยไม่ทราบแหล่งไปรับการรักษาเนื่องจากไม่มีสิทธิการรักษา ทำให้เกิดการแพร่ระบาดจากคนสู่คนในพื้นที่ตำบลหัวนาและพื้นที่ใกล้เคียงได้

ดังนั้นเพื่อให้มีฐานข้อมูลพนักงานบริการ และได้รับการประเมินความต้องการ มีสถานการณ์ปัญหาที่เป็นปัจจุบัน และให้ข้อมูลความรู้การป้องกันเรื่องโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตลอดจนส่งเสริมให้กลุ่มพนักงานบริการที่ทำงานในพื้นที่ตำบลหัวนา เข้าถึงเครื่องมือในการป้องกันและรู้แหล่งบริการด้านสุขภาพ จึงมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานดังต่อไปนี้

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสำรวจข้อมูลและประเมินความต้องการ สถานการณ์ปัญหา ผลกระทบที่เกิดขึ้นในกลุ่มพนักงานบริการร้านคาราโอเกะ เครือข่ายเจ้าของสถานประกอบการ รีสอร์ท พื้นที่ตำบลหัวนา
  2. เพื่อส่งเสริมให้ข้อมูล ความรู้เรื่องโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การป้องกัน เครื่องมือในการป้องกันสำหรับกลุ่มพนักงานบริการหญิงร้านคาราโอเกะ เครือข่ายเจ้าของสถานประกอบการ รีสอร์ท พื้นที่ตำบลหัวนา

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ

  1. มีข้อมูล สถานการณ์ และ ปัญหาอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อกลุ่มพนักงานบริการร้านคาราโอเกะ เครือข่ายสถานประกอบการ รีสอร์ท ในพื้นที่ตำบลหัวนา
  2. มีการกระจายข้อมูลความรู้เรื่องโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการป้องกัน ไปสู่พนักงานบริการร้านคาราโอเกะ เครือข่ายสถานประกอบการ รีสอร์ท ในพื้นที่ตำบลหัวนา
  3. พนักงานบริการเข้าถึงเครื่องมือในการป้องกันในชุมชน และ รู้จักช่องทางในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล เรื่องโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ การป้องกัน

 ระยะเวลาในการดำเนินการ 3 เดือน (เดือนพฤษภาคม 2559 – เดือนกรกฎาคม 2559)

 กลุ่มเป้าหมาย

  1. พนักงานบริการร้านคาราโอเกะ
  2. เจ้าของสถานประกอบการร้านคาราโอเกะ
  3. เจ้าของรีสอร์ท

รวมจำนวน 50 คน

 

พื้นที่ดำเนินการ  ตำบลหัวนา อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

 

กิจกรรมโครงการ

  1. สำรวจข้อมูล จำนวนพนักงานบริการในสถานบริการ เช่น ร้านคาราโอเกะ ร้านอาหาร รีสอร์ท ร้านเสริม

สวย

  1. ประเมินความต้องการ สถานการณ์ปัญหาที่มีผลกระทบต่อการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของพนักงาน

บริการในสถานบันเทิง ตำบลหัวนา

  1. กระจายถุงยางอนามัยสำหรับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ กระจายข้อมูลความรู้ความ

เข้าใจเรื่องโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  แหล่งบริการด้านสุขภาพ ผ่านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

แผ่นพับ ใบปลิว ไปยังกลุ่มพนักงานบริการ ร้านคาราโอเกะ รีสอร์ท


ปฏิทินกิจกรรมหรือปฏิทินงานโครงการ
ที่ กิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย วัน เดือน ปี ผลที่คาดว่าจะได้รับ งบประมาณรวมทั้งสิ้น
กลุ่มพนักงานบริการร้านคาราโอเกะ
1 สำรวจข้อมูล จำนวนพนักงานบริการในสถานบริการ เช่น ร้านคาราโอเกะ ร้านอาหาร รีสอร์ท ร้านเสริมสวย พนักงานบริการ ในพื้นที่

ตำบลหัวนา

พค.-มิย 59

 

มีฐานข้อมูล จำนวน พนักงานบริการ ที่ทำงานให้บริการในพื้นที่ตำบลหัวนา เช่น ร้านคาราโอเกะ ร้านเสริมสวย รีสอร์ท  
2 ประเมินความต้องการ สถานการณ์ปัญหาที่มีผลกระทบต่อการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของพนักงานบริการในสถานบันเทิง พื้นที่ตำบลหัวนา พนักงานบริการ เจ้าของสถานประกอบการ รีสอร์ท ในพื้นที่

ตำบลหัวนา

พค-มิย 59 มีข้อมูลความต้องการ สถานการณ์ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพ การป้องกันของพนักงานบริการ ในพื้นที่ตำบลหัวนา  
3 กระจายถุงยางอนามัยสำหรับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ กระจายข้อมูลความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  แหล่งบริการด้านสุขภาพ ผ่านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

แผ่นพับ ใบปลิว ไปยังกลุ่มพนักงานบริการ ร้านคาราโอเกะ รีสอร์ท

 

พนักงานบริการ เจ้าของสถานประกอบการ รีสอร์ท ในพื้นที่

ตำบลหัวนา

พค.-มิย 59 กระจายถุงยางอนามัยให้กับพนักงานบริการร้านคาราโอเกะ รีสอร์ท ในพื้นที่ตำบลหัวนา จำนวน 1,000 ชิ้น 3,000

 

 

 

 

 

 

วิธีดำเนินการ

  1. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล จำนวนพนักงานบริการในสถานบริการ เช่น ร้านคาราโอเกะ ร้านอาหาร รีสอร์ท ร้านเสริมสวย จำนวน 6 ครั้ง (3 เดือน) เพื่อนำข้อมูลที่สำรวจได้มาเก็บรวบรวมเป็นข้อมูลพื้นฐาน เช่น จำนวนเพศ การศึกษา สัญชาติ ระยะเวลาการทำงาน ประวัติการเจ็บป่วย การป้องกัน เป็นต้น
  2. ประเมินความต้องการ สถานการณ์ปัญหา ที่ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงการบริการรักษา การเข้าถึงเครื่องมือในการป้องกัน ของพนักงานบริการ
  3. กระจายถุงยางอนามัย จำนวน 1,000 ชิ้น ไปยังพนักงานบริการร้านคาราโอเกะ รีสอร์ท
  4. กระจายสื่อแผ่นพับ ใบปลิว จำนวน 200 ชิ้น ไปยังพนักงานบริการร้านคาราโอเกะ เจ้าของร้านคาราโอเกะ และรีสอร์ท

 

การประเมินผล

  1. แบบสำรวจข้อมูล และ แบบประเมินความต้องการ สำหรับกลุ่มพนักงานบริการ เจ้าของร้านคาราโอเกะ รีสอร์ท
  2. จำนวนถุงยางอนามัย จำนวนแผ่นพับ ใบปลิว ที่ถูกกระจายไปยังกลุ่มพนักงานบริการ เจ้าของร้านคาราโอเกะ รีสอร์ท
  3. เกณฑ์ในการชี้วัดความสำเร็จ
    • จำนวนพนักงานบริการร้านคาราโอเกะ เจ้าของร้านคาราโอเกะ เจ้าของรีสอร์ท ที่ถูกสำรวจข้อมูล
    • จำนวนพนักงานบริการที่ถูกประเมินความต้องการ สถานการณ์ปัญหา
    • จำนวนชิ้นถุงยางอนามัย
    • แผนกิจกรรมถูกดำเนินการตามแผนโครงการ ทุกกิจกรรม
    • จำนวนสื่อแผ่นพับ ใบปลิว

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. มีข้อมูล สถานการณ์ และ ปัญหาอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อกลุ่มพนักงานบริการร้านคาราโอเกะ เครือข่ายสถานประกอบการ รีสอร์ท ในพื้นที่ตำบลหัวนา
  2. มีการกระจายข้อมูลความรู้เรื่องโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการป้องกัน ไปสู่พนักงานบริการร้านคาราโอเกะ เครือข่ายสถานประกอบการ รีสอร์ท ในพื้นที่ตำบลหัวนา ผ่านแผ่นพับ ใบปลิว
  3. พนักงานบริการเข้าถึงเครื่องมือในการป้องกันในชุมชน และ รู้จักช่องทางในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล เรื่องโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ การป้องกัน จำนวน 1,000 ชิ้น

 

[1] สำนักงานสาธารณสุขอุบลราชธานี, รายงานสถานการณ์โรคเอดส์ในจังหวัดอุบลราชธานี. 2555