ภาพ กิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์
ภาพ ผู้อำนวยการ รพ.สต. นาแวง กล่าวรายงานความเป็นมาต่อนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลนาแวง
ความเป็นมาของการดำเนินโครงการ
ด้วยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีร่วมกับศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุขสวัสดิการและสังคม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการแบ่งปัน (มสป.) ร่วมกันดำเนินงานโครงการวิจัยเรื่อง โครงการการพัฒนาเครือข่ายการดูแลและส่งเสริมสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาวะทางเพศ (SRH) ของแรงงานหญิงลาว ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนทุนการทำวิจัยจากสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินกิจกรรมในพื้นที่อำเภอสิรินธร อำเภอโขงเจียม อำเภอบุณฑริก อำเภอนาตาลและอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ระยะเวลาในการดำเนินการตั้งแต่เมษายน ๒๕๕๘- กันยายน ๒๕๕๙ โดยในพื้นที่อำเภอเขมราฐ ได้พัฒนาโครงการสานสายใย สุขใจ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง และดำเนินกิจกรรมในกลุ่มแรงงานหญิงลาวที่อาศัยอยู่ในชุมชน
แรงงานหญิงลาวในชุมชนนั้นเป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่ในชุมชนมานาน บางส่วนประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจ้าง แรงงานในส่วนนี้มีครอบครัวและตั้งรกรากอยู่ในเมืองไทย บางส่วนก็มีสามีเป็นคนไทย แต่สำหรับแรงงานหญิงลาวในส่วนนี้ยังไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้ยังมีความต้องการเรื่องความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับ อนามัยเจริญพันธุ์ และสุขภาวะทางเพศ และการเข้าถึงข้อมูล/สื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์และช่องทางการเข้าถึงสิทธิต่างๆ ดังนั้นคณะทำงานอนามัยเจริญพันธ์อำเภอเขมราฐ จึงได้จัดทำโครงการสานสายใย สุขใจ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
- เพื่อเสริมสร้างความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์
- เพื่อเสริมสร้างให้แรงงานรู้จักหน้าที่ความเป็นพลเมืองที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
- เพื่อสร้างเครือข่ายคณะทำงานด้านสุขภาพของแรงงานหญิงลาว
- เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเขมราฐ (ตำบลเขมราฐ, ตำบลนาแวง, ตำบลหัวนา)
กิจกรรมได้แก่
- ประชุมคณะทำงาน
- การจัดทำ case management
- เครื่องมือการสำรวจบุคคลไร้สัญชาติ(ทุกคน)
- สำรวจในพื้นที่
- อบรมเชิงปฏิบัติการให้ข้อมูล SRH/ช่องทาง/ความรู้สิทธิ 1 วัน
รายงานการดำเนินงานตามโครงการ
- ผลการดำเนินงานตามโครงการ
กิจกรรมตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ | วันที่ดำเนินกิจกรรม | ผู้เข้าร่วม | ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น |
1.1 ประชุมคณะทำงาน | 21/4/2559 | 10 | 1,480 |
22/6/2559 | 15 | 1,780 | |
1.2 การจัดทำ case conference | 1/6/2559 | 15 | 1,880 |
20/6/2559 | 15 | 1,950 | |
1.3 กิจกรรมของเครือข่ายในพื้นที่ | |||
1.3.1เครื่องมือการสำรวจบุคคลไร้สัญชาติ | 1,909 | ||
1.3.2 สำรวจในพื้นที่ | 8,400 | ||
1.3.3อบรมเชิงปฏิบัติการให้ข้อมูล SRH/ช่องทาง/ความรู้สิทธิ 1 วัน | |||
1.3.3.1 พื้นที่ตำบลนาแวง | 16/6/2559 | 36 | 3,240 |
1.3.3.2 พื้นที่ตำบลเขมราฐ | 17/6/2559 | 33 | 3,200 |
1.3.3.3 พื้นที่ตำบลหัวนา | 21/6/2559 | 31 | 3,200 |
1.4 ติดตามประเมินผล/เยี่ยมบ้าน/ปัญหาอุปสรรค (ค่าประสานงานและค่าอุปกรณ์) | 960 |
ตารางที่ 1 สรุปกิจกรรมโครงการวันที่ดำเนินกิจกรรม จำนวนผู้เข้าร่วม และค่าใช้จ่าย
สรุปผลการดำเนินการ
1.1 ประชุมคณะทำงาน
ภาพ บรรายากาศการประชุมคณะทำงานโครงการพื้นที่อำเภอเขมราฐ
ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 วันที่ 21 เมษายน 2559 ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี มีคณะทำงานเข้าร่วมประชุมทั้งหมด 10 ท่าน ได้ร่วมกันทบทวนแผนงานการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการ จัดทำเครื่องมือสำรวจบุคคลไร้สัญญาติในพื้นที่( เครื่องมือ /รูปแบบวิธีการในการสำรวจ/การรวบรวมและการประเมินผล) และวางแผนการดำเนินกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการให้กับแรงงานหญิงลาว
ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 วันที่ 22 มิถุนายน 2559 ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขมราฐอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี มีคณะทำงานเข้าร่วมประชุมทั้งหมด 15 ท่าน ได้ร่วมกันสรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา
การจัดตั้งคณะทำงานและการประชุมคณะทำงานSRH ที่มาจากหลากหลายหน่วยงานในพื้นที่อำเภอเขมราฐ ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการ มีการวิเคราะห์สถานการณ์กลุ่มเป้าหมาย ร่วมกันคัดเลือกพื้นที่ดำเนินงาน แบ่งบทบาทการประสานงานกลุ่มเป้าหมายแรงงานหญิงลาวในพื้นที่และบทบาทในการดำเนินกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยจากการดำเนินงานที่ผ่านมาเสนอแนะว่าควรเชิญบุคลากรจากด่านตรวจคนเข้าเมือง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเข้าร่วมเป็นคณะทำงานด้วย
ประชุม Case management
การประชุม case management เพื่อการเรียนรู้เชิงประจักษ์ โดยการจัดประชุม case management นี้มีกระบวนการดังนี้
- การประเมิน การคัดเลือก case : โดยทีม อสม. เยี่ยมบ้าน สำรวจข้อมูลแรงงานหญิงลาวและแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เพื่อจัดเตรียมกรณีศึกษา
- เชิญผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมประชุมทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำ case management และร่วมวางแผนการแก้ไขปัญหารายกรณี
- ผู้เข้าร่วมประชุมจะเป็นปากเป็นเสียง/สร้างทางเลือกและให้บริการที่เหมาะสมกับความต้องการทางสุขภาพของแต่ละบุคคลผ่านการสื่อสารการประสานงาน
- ผู้เข้าร่วมประชุมจะร่วมกันการค้นหาและจัดสรรหาทรัพยากร
- ผู้เข้าร่วมประชุมมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการอำนายความสะดวก/สนับสนุน การจัดการแก้ไขปัญหา
การจัดประชุม case management และการติดตามเยี่ยมบ้าน case ในพื้นที่ คณะทำงานได้ทำการวิเคราะห์ปัญหาของนางน้อย ( นามสมมติ) โดยมีการจัดประชุม 2 ครั้ง
กรณีศึกษา นางน้อย หญิงลาวอายุ 39 ปี มีลูกที่ประเทศลาวมาแล้ว 4 คน หลังจากหย่ากับสามีที่ประเทศลาว น้อยเดินทางมาอยู่น้องสาวที่ประเทศไทย และมีสามีคนไทยมีลูกอีก 2 คน ลูกคนที่ 1 อายุปีกว่าแล้ว เด็กมีภาวะพิการ และไม่ได้รับวัคซีนตามกำหนด ขณะนี้ได้รับการรับการรักษาที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ลูกคนที่ 2 อายุประมาณ 7 เดือน มารับวัคซีนไม่สม่ำเสมอ ผลการดำเนินกิจกรรมดังนี้
ครั้งที่ 1 วันที่ 1 มิถุนายน 2559
สถานการณ์ปัญหา | สุขภาพ / อนามัยเจริญพันธ์
– การวางแผนครอบครัว ไม่มีการคุมกำเนิด – ขาดสิทธิการวางแผน – การฝากครรภ์-ของหญิงลาว และการดูแลหลังคลอด – วัคซีนเด็ก – เด็กไม่ได้รับการส่งต่อหลังคลอดอย่างทันเวลา – ขาดความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ ( หน้าอกไม่เท่ากัน สุขอนามัยทั่วไป ติดสุราของแม่) |
การเข้าถึงบริการ
– แม่ไม่มารับบริการที่ รพ. – แม่ พ่อ ไม่พาเด็กมารับวัคซีนตามนัด – เด็กได้ย้ายสิทธิเพื่อรับบริการใน รพ. ใกล้บ้านแล้ว หน่วยบริการสาธารณสุขขาดงบประมาณในการดูแลหญิงลาวที่ไม่มีสิทธิ เช่น การตรวจหลังหลอด การตรวจมะเร็งปากมดลูก การทำหมั่น และคุมกำเนิดทุกแบบ
|
สิทธิ
– แม่ไม่มีบัตรไม่มีสิทธิใดๆในการรักษา – เด็กเป็นไทยมีสิทธิความเป็นไทยและกำลังดำเนินการเรื่องพิการ |
ผู้เกี่ยวข้อง | อสม. / รพสต. | รพสต. | |
แนวทาง | 1. ให้แนวทางวิธีการคุมกำเนิด ข้อดี เสีย และให้เขาได้ตัดสินใจเลือกวิธีการที่เหมาะสม
2. การตรวจมะเร็งปากมดลูก และตรวจภายใน 3. ช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่าย โดยขอความอนุเคราะห์ จาก รพ. เขมราฐ 4. ประเมินปัญหาสุขภาพ และอนามัยเจริญพันธุ์อื่นๆ เพิ่มเติม |
1. ให้ข้อมูล case เพื่อการตัดสินใจเลือกวิธีการคุมกำเนิด
ทางเลือกที่ 1แบบชั่วคราว สามารถทำได้เลยที่ รพสต. ทางเลือกที่ 2 แบบถาวร ต้องขอความอนุเคราะห์ 2. ศึกษาเรื่องบัตรประกันสุขภาพ เพื่อให้คำแนะนำเรื่องการทำบัตร / บัตรประกันสังคม เรื่องลูกคนที่ 1 1.ติดตามบัตรสวัสดิการผู้พิการเด็ก โดยมีแนวทางคือ รพสต.ประสานกับ รพ. เขมราฐเพื่อขอหนังสือรับรองผู้พิการ ที่ พมจ. 2.เรื่องเบี้ยหยั่งชีพต้องยื่นก่อน พ.ย. 2559 จะได้รับการจัดสรร ต.ค. 2560 ( โดยเทศบาลจะให้การอนุเคราะห์พาไปประสานงาน) 3.นมเด็ก : แนะนำให้เด็กลงชื่อเข้าเรียนศูนย์เพื่อให้ได้รับนมโรงเรียน |
1. จดทะเบียนสมรส ต้องมีเอกสารแสดงความเป็นลาว และจดทะเบียนที่สถานทูต ซึ่งมีกระบวนการหลายขั้นตอน มีการเดินทางไป-มา ไทยลาว รอบ ( มีค่าใช้จ่ายประมาณ 100,000 บาท ระยะเวลาดำเนินงานประมาณ 1 ปี) จึงสิ้นสุดกระบวนการ
2. ขอขึ้นทะเบียนต่างด้าวที่สำนักงานแรงงานจังหวัด ช่วงเดือนมีนาคม คชจ.ประมาณ 3,200 บาท แต่แรงงานจะต้องเข้าเมืองถูกกฎหมาย ( ติดต่อ ตม. สถานีตำรวจเก่า และไปที่ รพ. เขมราฐ) จดได้ก่อน 29 ก.ค.59 โทร สำนักงานจัดหางานจังหวัด 045 206226 |
ผู้รับผิดชอบ | รพสต. โดย พี่หมู
น้องกวาง น้องแอน อสม. มะลิวรรณ แลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงการคุมกำเนิด วัคซีน สุขอนามัย |
เรื่องนม อสม. ประสานกับกำนัน ช่วยเอื้ออำนวยในการประสานงาน เพื่อขอความอนุเคราะห์เป็นกรณีพิเศษ เข้าศูนย์เพื่อรับนม
ศึกษาข้อมูลเรื่องโรงเรียนผู้พิการ : หน่อย มสป. บัตรคนพิการ : น้องแดง หนังสือรับรองความพิการ พี่หมู การทำบัตรสุขภาพ : น้องแอน การประสานขอความอนุเคราะห์ คุมกำเนิด : พี่หมู |
หน่อย แอน หาข้อมูลเพิ่มเติม และส่งต่อทีม สหวิชาชีพ |
ครั้งที่ 2 วันที่ 20 มิถุนายน 2559 เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดไว้
สถานการณ์ | ติดตาม
สุขภาพ / อนามัยเจริญพันธุ์ จากการประเมินความรู้เรื่องการป้องกันของนางน้อยและสามี พบว่า – น้อยมีประสบการณ์ใช้ยาคุมลาว 1 เม็ด/เดือน น้อยรู้จักวิธีการใช้ถุงยางอนามัย – สามีใช้วิธีการหลั่งข้างนอก – น้อยไม่ต้องการคุมกำเนิดถาวรเพราะเกรงจะดูแลลูก 2 คนไม่ไหวเพราะการคุมกำเนิด – ดังนั้นนางน้อยและสามีเลือกวิธีการใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งมูลนิธิฯ ได้นำไปสนับสนุนแล้วจำนวน 100 ชิ้น |
การเข้าถึงบริการ
– สามีได้พาลูกมารับวัคซีนตามนัด – ปัจจุบันสามีไปทำงานต่างอำเภอ ทำให้น้อยอยู่กับลูกโดยลำพัง และมีคุณตาเจ้าของบ้านเช่าให้การจุนเจือ – รพ.สต. ได้ให้การช่วยเหลือเด็กเรื่องใบรับรองแพทย์แล้ว และได้ยื่นเอกสารขอรับเบี้ยหยั่งชีพ ซึ่งจะได้รับประมาณเดือนตุลาคม 2560 – เรื่องนมเด็กพบว่าแม่และพ่อให้เด็กดื่มนมข้นหวาน เพราะไม่มีเงินซื้อนมผลให้ลูกกิน ต่อมาเด็กติดรสหวานและไม่กินนมผง แต่ชอบกินนมวัวแดงรสหวาน – เด็กมีอาการอาเจียนเมื่อกินอาหาร – อสม. ยังไม่ได้ติดตามเด็กเพื่อเข้าเรียนศูนย์เด็กเล็ก |
สิทธิ
– แม่ไม่มีบัตร ไม่มีสิทธิใดๆในการรักษา – เรื่องการทำบัตรแรงงานสำหรับแม่ (ประเมินว่าในปีนี้น้อยไม่มีเงินในการจัดการเอกสารทำบัตร และมีปัญหาเรื่องการเดินทาง ครอบครัวไม่มีรายได้ เพราะสามีตกงาน / มีงานทำไม่แน่นอน) ถึงแม้นว่าน้อยมีลูกที่เมืองลาว 3 คน / ทำงานที่ระยอง 1 คน และลูกๆ ส่งเงินมาให้น้อยใช้ แต่น้อยครั้ง โดย ครั้งสุดท้ายลูกฝากเงินผ่านน้องสาว แต่น้องสาวนำไปใช้จ่าย ทำให้น้อยไม่ได้รับเงิน ตอนนี้น้อยและน้องสาวทะเลาะกัน – น้อยมีลูก 2 คน ที่ยังเป็นเด็กต้องการการดูแล ถึงแม้นเด็กเป็นไทยตามบิดา สามารถใช้สิทธิในการรักษาได้ฟรี แต่น้อยมีปัญหาเรื่องการเดินทาง และไม่มั่นใจตนเองในการพาลูกเข้ารับบริการสุขภาพที่ รพสต. เพราะน้อยไม่รู้หนังสือ |
ผู้เกี่ยวข้อง | อสม. / รพสต. | รพสต. | |
แนวทาง | ให้ข้อมูลเรื่องการคุมกำเนิด และการเข้าถึงบริการในครั้งต่อๆ ไปเพื่อให้พวกเขาสามารถพึ่งพาตนเองได้ | อสม. / รพ.สต. นำเด็กและครอบครัวสมัครเรียนที่ศูนย์เด็กเล็ก และเจรจาเรื่องการรับนมโรงเรียนเพื่อลดค่าใช้จ่ายเรื่องนม
( ประสานงาน สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิถุนายน 2559) อสม. แนะนำเรื่องโภชนาการเด็ก |
จนท.มูลนิธิฯ ให้ข้อมูลกับน้อยเรื่องบัตรประกันสุขภาพ และประเมินว่าลูกของน้อยสามารถช่วยเหลือได้หรือไม่ |
โดยจัดการประชุม case management ทำให้คณะทำงานมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์แรงงานหญิงลาวอย่างเข้าใจบริบทและข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานหญิงลาวได้อย่างเข้าใจ ดังเช่นกรณีของนางน้อย ในเชิงโครงสร้างการดูแลสุขภาพของแรงงานหญิงลาว น้อยไม่มีสิทธิใดๆ ทำให้นางน้อยต้องเผชิญกับความยากลำบากเพราะน้อยเข้าเมืองอย่างไม่ถูกกฎหมายส่งผลต่อสิทธิการการคุ้มครองในด้านต่างๆ ทั้งการเดินทาง การรักษาพยาบาล การทำงาน ในระดับบุคคลพบว่าน้อยมีข้อจำกัดในการเข้าถึง เช่น ไม่มีบัตรใดๆในประเทศไทย น้อยอ่านหนังสือไม่ได้ ไม่มีอาชีพ ไม่มีรายได้ ทำให้น้อยอยู่ในสภาวะที่ต้องพึ่งพิงสามี เพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตามในบทบาทของแม่น้อยต้องอยู่บ้านเลี้ยงลูก 2 คน น้อยขาดอำนาจในการตัดสินใจ ขาดความมั่นใจในตนเองในการสื่อสารกับคนอื่นๆ ขาดคนรับฟังเรื่องราวของน้อย หลังจากที่ได้จัดประชุมกรณีศึกษาของน้อย ติดตามเยี่ยมบ้านน้อยโดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครชุมชน คณะทำงานหลายคนได้รับรู้สถานการณ์ปัญหา จากการรับฟังเรื่องราวของน้อยทำให้นางน้อยมั่นใจในการสื่อสาร การได้เล่าเรื่องราวต่างๆ ของตนเองทำให้น้อยผ่อนคลาย อีกทั้งยังเป็นการลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการ เจ้าหน้าที่เข้าใจในบริบทของน้อย น้อยรู้จักเจ้าหน้าที่ในรพสต. ทำให้น้อยมั่นใจในการไปรับบริการสุขภาพและขอรับคำปรึกษาเรื่องสุขภาพของตนเองและลูก น้อยได้ค้นพบช่องทางในการจัดการปัญหา มีการวางแผนการคุมกำเนิด การจัดการเรื่องบัตรประกันสุขภาพภายใต้ศักยภาพของตนเอง การสนับสนุนจากหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อนบ้าน เจ้าของบ้าน และอสม.
- กิจกรรมของเครือข่ายในพื้นที่
- จัดทำเครื่องมือการสำรวจบุคคลไร้สัญชาติ
- สำรวจในพื้นที่
กิจกรรมสำรวจพื้นที่ มีการรวบรวมข้อมูล 2 รูปแบบ คือ
- รวบรวมข้อมูลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน จากสำนักทะเบียนอำเภอเขมราฐ
- การจัดทำแบบสำรวจ โดย อสม. และ เจ้าหน้าที่ รพสต.
- รวบรวมข้อมูลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน จากสำนักทะเบียนอำเภอเขมราฐ
โดยการรวบรวมข้อมูลเมื่อเดือนกรกฎาคม 2559 พบว่ามีผู้ไม่มีสถานในทะเบียนราษฎร์อาศัยอยู่ในพื้นที่ทั้งหมด 520 คน แยกเป็นเพศหญิง 334 คน และเพศชาย 186 คน โดย 241 คน อยู่ในพื้นที่ตำบลนาแวง 159 คน อยู่ในตำบลเขมราฐ และ 41 คน อยู่ในตำบลหัวนา ( ดังแผนภูมิด้านล่าง)
แผนภูมิที่ 1 จำนวนผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร์อำเภอเขมราฐแยกตามตำบล
โดยผู้ไม่มีสถานทางทะเบียนราษฎร์ส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงาน วัยรุ่น และวัยชรา จากตารางพบว่า ประชากรวัยแรงงานที่มีอายุระหว่าง 21- 60 ปี มีจำนวน 343 คน รองลงมาคือวัยเด็กสู่วัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 10-20 ปี จำนวน 132 คน และมากกว่า 60 ปี จำนวน 55 คน ดังแผนภูมิ ด้านล่าง
แผนภูมิที่ 2 ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร์อำเภอเขมราฐ แยกตามช่วงชั้นอายุ
- ข้อมูลการจัดทำแบบสำรวจ โดย อสม. และ เจ้าหน้าที่ รพสต.
การสำรวจข้อมูลแรงงานหญิงลาว ได้ทำการสำรวจแรงงานหญิงลาวที่อยู่ในชุมชนในช่วงเดือนมิถุนายน 2559 ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลโดยอสม. ติดตามโดยเจ้าหน้าที่ รพสต. และเจ้าหน้าที่สาธารสุขอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ได้ทำการจัดเก็บข้อมูลครัวเรือนจำนวนครัวเรือนละ 1 ชุด ในพื้นที่ตำบลนาแวง ตำบลเขมราฐ ตำบลหัวนา อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 260 คน เป็นเพศชาย 6 คน และเพศหญิง 254 คน ซึ่งเป็นตัวแทนให้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานลาวที่อยู่ในครัวเรือน จากการจัดเก็บข้อมูลพบว่ามีข้อมูลแรงงานลาวจำนวน 325 คน แยกเป็นชาย 6 คน หญิง 319 คน ในจำนวนนี้ 144 คนไม่มีบัตรใดๆ รองลงมาถือบัตร ทร 38/1จำนวน 112 คน โดยแรงงานส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลนาแวง ตำบลเขมราฐ และตำบลหัวนาตามลำดับ ข้อมูลดังตารางที่ 2
ประเภทบัตร | ต.เขมราฐ | นาแวง | หัวนา | รวม |
1. passport | 8 | 2 | 10 | |
2. ทร38/1 | 5 | 99 | 8 | 112 |
3. บัตรแรงงาน | 4 | 14 | 18 | |
4. บัตรลาวอพยพ | 2 | 18 | 20 | |
5. ต่างด้าว | 7 | 7 | ||
6. นักเรียน/ ป.05 | 1 | 1 | 1 | 3 |
7. ไม่มีบัตร | 38 | 82 | 24 | 144 |
8. ไม่ตอบ | 1 | 1 | ||
9. บัตรประชาคมของชาวบ้าน | 2 | 2 | ||
10. ใบสำรวจลาวอพยพ | 2 | 2 | ||
11. หนังสือผ่านแดน | 1 | 1 | 2 | |
12. รับรองอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรกรณีพิเศษ | 4 | 4 | ||
รวม | 66 | 219 | 40 | 325 |
ตารางที่ 2 ข้อมูลประเภทการถือบัตร จากการสำรวจกลุ่มแรงงานลาวอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
การศึกษา: ด้านการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่เรียนจบในระดับประถมศึกษา จำนวน 123 คน รองลงมาจำนวน 89 คน ไม่ได้เรียนหนังสือ 37 คน เรียนจบในระดับมัธยม 4 คน เรียนหนังสือในระดับสูง และไม่ตอบแบบสำรวจจำนวน 7 คน
สถานภาพ : แรงงานหญิงลาวส่วนใหญ่แต่งงานแล้ว จากการตอบแบบสอบถามจำนวน 260 คน แต่งงานมีคู่สมรสแล้ว จำนวน 226 คน จำนวน 215 คนมีคู่เป็นคนไทย มีเพียง 28 คนที่มีคู่เป็นคนสัญชาติเดียวกัน
อาชีพ : แรงงานหญิงลาวประกอบอาชีพรับจ้างจำนวน 106 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการรับจ้างภาคเกษตรในชุมชน รองลงมาคือเกษตรกร 101 คน ค้าขาย 7 คน ว่างงาน 7 คน อื่นๆ 4 คน และ ไม่ตอบ 3 คน
ระยะเวลาที่อาศัยในอำเภอเขมราฐ : แรงงานหญิงลาวส่วนใหญ่อาศัยในอำเภอเขมราฐ นานกว่า 5 ปี โดยจำนวนมากถึง 228 คน อาศัยอยู่ในอำเภอเขมราฐระยะเวลา 6 ปีขึ้นไป มีเพียง 27 คน เท่านั้นที่อาศัยอยู่ในเขมราฐระหว่าง 0-5 ปี
รายได้ : แรงงานหญิงลาวส่วนใหญ่มีรายได้ระหว่าง 3,001-6,000 บาท จำนวน 89 คน รองลงมามีรายได้ระหว่าง 1-3,000 บาท จำนวน 80 คน รายได้ระหว่าง 6,001-9.000 จำนวน 21 คน รายได้ 12,000 บาท ขึ้นไป จำนวน 4 คน รายได้ระหว่าง 9,001-12,000 จำนวน 3 คน รายได้ไม่แน่นอน 26 คน และไม่ตอบ 37 คน รายได้น้อยที่สุดคือจำนวน 200 บาท มากที่สุดคือจำนวน 15,000 บาท โดยจำนวน 160 คน ตอบว่ามีตนเองมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย จำนวน 92 คน ตอบว่ามีรายได้เพียงพอกับรายได้ และจำนวน 8 คน ไม่ตอบคำถาม
แขวง | จำนวน (คน) |
1. แขวงสะหวันนะเขต | 141 |
2. แขวงสาละวัน | 43 |
3. แขวงจำปาสัก | 31 |
4. นครหลวงเวียงจันทร์ | 10 |
5. แขวงอัตปรือ | 8 |
6. หลวงพระบาง | 3 |
7. แขวงคำม่วน | 2 |
8. แขวงคำไซ | 1 |
9. ชัยบุรี | 1 |
10. ปลากระดิ่ง หริคำชัย | 1 |
11. เวียงไชหัวพัน | 1 |
12. ไม่ตอบ | 14 |
13. เกิดในประเทศไทย | 4 |
รวม | 260 |
ตารางที่ 3 ข้อมูลแหล่งที่มาจากประเทศลาว จากการสำรวจกลุ่มแรงงานลาวอำเภอเขมราฐ
แหล่งที่มาจากประเทศลาว : จากการตารางด้านบนพบว่าส่วนใหญ่แรงงานหญิงลาวมาจากแขวงสะหวันนะเขต จำนวน 141 คน รองลงมาคือ แขวงสาละวัน 43 คน แขวงจำปาสักจำนวน 31 คน นครหลวงเวียงจันทร์ 10 คน
การเดินทางเข้ามาในประเทศไทยส่วนใหญ่เดินทางเข้าประเทศไทยคนเดียว จำนวน 78 คน รองลงมาคือ มากับญาติ พี่น้อง 50 คน มากับพ่อ แม่ จำนวน 33 คน มากับสามี 33 คน มากับเพื่อน 21 คน มากับครอบครัว 12 คน มากับลูก 5 คน เกิดในประเทศไทย 1 คน และไม่ตอบ 27 คน
เหตุผลที่เข้ามาในประเทศไทย : จากการสำรวจ 5 อันดับแรกพบว่า ส่วนใหญ่แรงงานหญิงลาวจำนวน 94 คน แต่งงานติดตามสามี รองลงมาคือทำงานหาเงิน 70 คน ติดตามพ่อแม่และครอบครัวจำนวน 15 คน มีครอบครัว 10 คน ขาดแคลน ยากจน 9 คน
การทำงานต่างถิ่น : จากการสำรวจ จำนวน 92 คน เคยทำงานต่างถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานรับจ้างใน กทม. แรงงานหญิงลาวจำนวน 251 คน ไม่คิดที่จะย้ายกลับประเทศลาว โดยให้เหตุผลว่า มีครอบครัวในประเทศไทย มีลูก มีบ้าน อยู่ประเทศไทยมีความสุข ที่ประเทศไทยหางานทำง่ายกว่าประเทศลาว ส่วนคนที่สูงวัยบอกว่าต้องการอยู่กับลูกหลานที่ประเทศไทย มีเพียง 6 คนเท่านั้นที่ต้องการย้ายกลับประเทศลาว โดยให้เหตุผลว่าคิดถึงบ้าน และรอให้ลูกเรียนหนังสือจบ
ปัญหาที่พบจากการดำเนินกิจกรรมโครงการ
จากข้อมูลการสำรวจ มีจำนวนผู้ไม่มีสถานทางทะเบียนที่เป็นหญิงจำนวน 334 คน และมีแรงงานหญิงลาวไม่บัตรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ อีกจำนวน 144 คน รวมประชากรแรงานหญิงลาวในพื้นที่จำนวน 478 คน ซึ่งแรงงานหญิงลาวในบางพื้นที่ส่วนหนึ่งไม่ให้ความร่วมมือในการสำรวจชุมชน เพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบในทางที่ไม่ดีกับตนเอง อย่างไรก็ตามอาจเป็นได้ว่าคณะทำงานเองขาดการเตรียมความพร้อมให้กับเจ้าหน้าที่ อสม. ในการสำรวจแรงงานหญิงลาวในพื้นพี่
คณะทำงานมาประชุมไม่ครบตามจำนวน ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา การเปลี่ยนคนทำงานและผู้ประสานงานในการดำเนินกิจกรรมอนามัยเจริญพันธุ์สำหรับแรงงานหญิงลาวในองค์กรนั้นๆ ทำให้การเข้าร่วมกิจกรรมไม่ต่อเนื่อง การรับรู้ การสนับสนุนและการขับเคลื่อนไม่ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในการทำงานเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์สำหรับแรงงานหญิงลาวก็ได้รับการสนับสนุนจากส่วนงานสาธารณสุขทำให้งานเสร็จสิ้นตามกรอบเวลาที่ว่างไว้
ขาดการทำหลักสูตรการฝึกอบรม โดยกิจกรรมมีการกำหนดกรอบการดำเนินกิจกรรมให้กับแต่ละพื้นที่ได้ดำเนินการเพราะมีจุดมุ่งหมายให้เกิดการมีส่วนร่วมด้านการดำเนินกิจกรรมด้านอนามัยเจริญพันธ์ในกลุ่มแรงานหญิงลาว แต่ด้วยคณะทำงานที่มาจากหลายพื้นที่ และหลายส่วนงานทำให้เนื้อหาการจัดอบรมในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน เช่น ประเด็นเรื่องสิทธิ โดยแรงงานพื้นที่นาแวงได้รับความรู้เรื่องสิทธิจากทหาร แรงงานพื้นที่หัวนาได้รับความรู้เรื่องสิทธิจากปลัด และแรงงานพื้นที่ตำบลเขมราฐได้รับข้อมูลจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ซึ่งแต่ละส่วนงานก็จะมีประเด็นเรื่องสิทธิที่ตนเองเข้าใจคนละมิติ
ข้อเสนอแนะ
- คณะทำงานอนามัยเจริญพันธุ์ควรมีตัวแทนจาก 1) ด่านตรวจคนเข้าเมือง 2) PCU 3) ตัวแทนแรงงานหญิงลาว จะทำให้การทำงานมีความครอบคลุม และสามารถประสานงานกับแรงงานหญิงลาวได้ง่ายขึ้น
- ควรมีการส่งต่อรายงานการประชุมให้หน่วยงานเป็นลายลักษณ์อักษร
- ควรมีการ update ข้อมูลแรงงานหญิงลาวเป็นประจำทุกปี
- การจัดทำอบรม ไม่ได้มีการทำประเมินก่อนหลัง ดังนั้น จึงควรจัดทำหลักสูตรให้ชัดเจน และมีทีมวิทยากรเพียง 1 ทีม เป็นวิทยากรสัญจรจะทำให้แรงงานได้รับความรู้ในเรื่องเดียวกัน
การวางแผนงานต่อไปในอนาคต
- พัฒนาศักยภาพแกนนำแรงงานหญิงลาวที่อยู่ในพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพและอนามัยเจริญพันธุ์
- ส่งเสริมให้แรงงานหญิงลาวเข้าถึงระบบริการสุขภาพใกล้บ้าน
- เสริมสร้างความเข็มแข็งของเครือข่ายคนทำงานด้านอนามัยเจริญพันธุ์ในพื้นที่
- รณรงค์สื่อสารสร้างความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพและอนามัยเจริญพันธ์ให้กับคนในพื้นที่
คณะทำงาน ประกอบด้วย
1. นายวานิช สายยืน สาธารณสุขอำเภอเขมราฐ |
ประธานกรรมการ |
||
2. พ.ต.อ.อภิชาติ สุขเลิศ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอเขมราฐ | รองประธานกรรมการ | ||
3. นายชัยนเรศ ยอดแตง ปลัดอำเภอเขมราฐ | รองประธานกรรมการ | ||
4. นางลัดดา เจษฎาพานิช นายกเทศมนตรีตำบลเขมราฐ | กรรมการ | ||
5. นายกนกศักดิ์ เหมแดง นายกเทศมนตรีตำบลหัวนา | กรรมการ | ||
6. นายอลงกต แสวงสุข นายกเทศมนตรีตำบลเทพวงศา | กรรมการ | ||
7. นางกัญญาภัค กุลวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพสต. ม่วงเฒ่า | กรรมการ | ||
8. นางสาวสุภาวดี อินทร์วิถี พยาบาลวิชาชีพ รพสต.ม่วงเฒ่า | กรรมการ | ||
9. นายทอมสัน วงศ์สิม ผอ.รพสต. นาแวง | กรรมการ | ||
10. นางสาวจอมใจ ช่วยสุรินทร์ นักบริหารงานสาธารณสุข เทศบาลตำบลเขมราฐ | กรรมการ | ||
11. นายวรพงศ์ หงษ์ทอง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.เขมราฐ | กรรมการ | ||
12. นายสิรินทร์ทิพย์ แสงสว่าง ผู้ประสานงานกลุ่มฟ้าสางที่ริมโขง | กรรมการ | ||
13. นางศิริลดา ทรัพย์ศรี อาสาสมัครชุมชนบ้านโชคชัย | กรรมการ | ||
14. นายบุญถม ชะนะกาล เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการแบ่งปัน | กรรมการ | ||
15. นางสาวลัดดา ไวยวรรณ์ เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการแบ่งปัน | กรรมการ และเลขานุการ | ||
16. นายเชาวลิต ครองยุติ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน หัวหน้าฝ่ายควบคุมโรคสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขมราฐ | กรรมการ และเลขานุการ |