โครงการปัจจุบัน
- โครงการคลินิกสุขภาพเคลื่อนที่สำหรับประชากรลาว และ ผู้ด้อยโอกาส ในพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว อำเภอนาตาล และอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ระยะเวลา 5 ปี ( มิถุนายน 2563-2567) Mobile Clinic Project
- โครงการวิจัย : ส่งเสริมการเข้าถึงระบบบริการอย่างต่อเนื่องของกลุ่มเยาวชนชายในประเทศไทย(ADDRESSING THE CONTINUUM OF CARE AMONG HIGH-RISK THAI MEN) 2563-2565
- โครงการหน่วยจัดการเสริมสร้างสุขภาวะทางเพศในกลุ่มแรงงานข้ามชาติและกลุ่มชาติพันธุ์ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( เม.ย. 2562- มิ.ย. 2563 )
- โครงการเสริมสร้างสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัวเปราะบางในพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( ตุลาคม 2561- มีนาคม 2563 )
- โครงการการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ HIV/ AIDS และงานดูแลสุขภาพที่ชายแดนไทย – ลาว 2550- ปัจจุบัน
- โครงการนำร่องยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กเยาวชนหญิงให้มีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย ( เม.ย.- ก.ย. 2563 )
- โครงการยกระดับคุณภาพและบูรณาการการดำเนินงานป้องกัน การเข้าถึงบริการและการปรับภาพลักษณ์เรื่องเอดส์ที่มีประสิทธิผลในกลุ่มผู้หญิงจังหวัดอุบลราชธานี (AIDS 360 องศา) ก.ย. 2562 – ส.ค. 2563 และขยายระยะเวลาถึง พ.ย. 2563
- Scholarship and Empowerment Project for the Children living with HIV/AIDS
- โครงการ “การพัฒนากลไกความร่วมมือด้านสุขภาพชายแดนระหว่างประเทศไทย-ลาว” มิ.ย. 2563 – พ.ค. 2564
โครงการที่ผ่านมา
- โครงการพัฒนากลไกการทำงานแบบบูรณาการระดับอำเภอในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาวะทางเพศ(SRH)ของแรงงานหญิงลาว ระยะที่ 2 ปี ตั้งแต่ ตุลาคม 2559- กันยายน 2561
- โครงการพัฒนากลไกการทำงานแบบบูรณาการระดับอำเภอในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาวะทางเพศ(SRH)ของแรงงานหญิงลาว ตั้งแต่ตุลาคม 2561- กันยายน 2562
- โครงการ การพัฒนาเครือข่ายการดูแลและส่งเสริมสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาวะทางเพศของแรงงานหญิงลาว (ระยะที่ 1 ) ซึ่งดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 – 30 กันยายน 2559 โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข สวัสดิการและสังคม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี และมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการแบ่งปัน (มสป.)
- โครงการพัฒนาต้นแบบสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์สำหรับเยาวชนและครอบครัวในพื้นที่พรมแดนเพื่อส่งเสริมทักษะรู้เท่าทันสื่อในการลดปัญหาความรุนแรงบนพื้นที่ออนไลน์ มกราคม – ธันวาคม 2562
- โครงการท้องถิ่นเพื่อน้อง” โครงการส่งเสริมศักยภาพองค์กรชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในงานพัฒนาและคุ้มครองเด็กและครอบครัว ปี2559-2561
- โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กโดยชุมชน
- โครงการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อเอดส์ในชุมชนปีที่ 4
- โครงการเกี่ยวกับแรงงานเคลื่อนย้าย
- โครงการด้านสุขภาพ
- โครงการด้านเอดส์
- โครงการส่งเสริมศักยภาพเยาวชนในการดำเนินกิจกรรมด้านเอดส์ในชุมชน ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (ระหว่างปี 2541-2545)
- ดำเนินกิจกรรมร่วมกับโรงพยาบาลวารินชำราบและดำเนินกิจกรรมกลุ่มผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์ ชื่อกลุ่ม “สะเดาหวาน” มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาเอดส์” (ระหว่างปี 2541-2545)
- ดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเอดส์และเพศศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มโรงเรียนตำบลบุ่งหวาย อำเภอวาริน จังหวัด ปี 2543-2545
- โครงการสนับสนุนศักยภาพกลุ่มแกนนำชุมชนและกลุ่มผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์ในการแก้ไขปัญหาเอดส์ในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ 2543-2549)
- โครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรชุมนและผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์เพื่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านเอดส์แบบยั่งยืน (ตำบลสว่างวีระวงศ์ และตำบลห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี) ปี 2547-2550
- การส่งเสริมศักยภาพแกนนำชุมชน และผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์ในการทำงานด้านเอดส์ในชุมชน2542-2550
- โครงการป้องกันเอดส์ในกลุ่มชายรักชายตะเข็บชายแดน ปี 1 และปี 2 (2552-2553)
- โครงการป้องกันการติดเชื้อ HIV โดยส่งเสริมการบูรณาการและสร้างเครือข่ายการเข้าถึงบริการของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าถึงยาก (CHAMPION) ปี 2553-2555
ผลงานที่ผ่านมา
ผลการดำเนินโครงการ ระหว่างเดือนมิถุนายน 2552 – เดือนธันวาคม 2558
กลุ่มผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์
มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ได้รับผลกระทบจากเอดส์ ร่วมกับโรงพยาบาลอำเภอเขมราฐ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเข้าถึงบริการการรักษาอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และพัฒนาศักยภาพแกนนำผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ได้รับผลกระทบจากเอดส์ ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการให้บริการดูแลรักษาสมาชิกผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ และแก้ไขปัญหาเอดส์ร่วมกับชุมชนได้ด้วยตัวเอง
การดำเนินงาน/กิจกรรม
- ด้านการพัฒนาศักยภาพผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ สมาชิกกลุ่ม ผู้ได้รับผลกระทบ และครอบครัวกิจกรรมการให้คำปรึกษา เพื่อดูแลด้านจิตใจ กิจกรรมเยี่ยมบ้านสมาชิกกลุ่มโดยแกนนำเพื่อให้คำแนะนำและติดตามสมาชิก การอบรมแกนนำ (เรื่อง การสื่อสารเรื่องโรคเอดส์, การเขียนโครงการ, การบริหารจัดการ) ค่ายครอบครัวและประชุมประจำเดือนกลุ่มเด็กได้รับผลกระทบจากเอดส์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ที่ได้รับผลกระทบฯ ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชน และแกนนำกลุ่มผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์ในพื้นที่
- ด้านการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์ สุขภาพ และความต่อเนื่องในการรักษา
กิจกรรมประชุมประจำเดือน กิจกรรมอบรมการให้ความรู้เรื่องเอดส์ เพศ กับสมาชิกกลุ่มผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์ และคนในชุมชน กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องยาต้านไวรัส โรคแทรกซ้อนฉวยโอกาส และการดูแลสุขภาพเบื้องต้น กิจกรรมส่งเสริมการป้องกันในกลุ่มผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์
- ด้านสวัสดิการทางสังคมเพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์
สร้างเครือข่ายการทำงานด้านเอดส์ ร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน ผู้นำชุมชน และการรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา เพื่อประสานความร่วมมือในการช่วยเหลือด้านสวัสดิการทางสังคม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์ ได้รับเบี้ยยังชีพ ทุนการศึกษาสำหรับเด็กที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีและเด็กที่ได้รับผลกระทบฯ
ผลที่เกิดขึ้น
มีกลุ่ม ชื่อกลุ่มมิตรภาพริมโขง และกลุ่มตะวันทอแสง เพื่อทำกิจกรรมเพื่อเพื่อนสมาชิกผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์ และผู้ได้รับผลกระทบจากเอดส์ ครอบคลุมการดูแลผู้ป่วยใน 2 อำเภอ คือ อำเภอนาตาล และอำเภอเขมราฐ โดยมีแกนนำผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 5 คน เป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรมด้านเอดส์ เช่น เยี่ยมบ้าน ให้คำปรึกษา ประชุมกลุ่มประจำเดือน เป็นวิทยากรสื่อสารให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ เพศศึกษา กับคนในชุมชน เขียนรายงานกิจกรรม และบริหารจัดการโครงการปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มฯที่ได้รับยาต้านไวรัสและเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ ผู้ใหญ่จำนวน 124 คน เด็กที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี 10 คน
สมาชิกกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมีความรู้เรื่องเอดส์ การป้องกันและการรับบริการสุขภาพที่ถูกต้อง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 81 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 88 ในปี 2558


กลุ่มชายรักชาย
ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน
ส่งเสริมให้กลุ่มชายรักชายเข้าถึงบริการการป้องกัน การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีแบบสมัครใจ และการส่งต่อเพื่อการรักษา เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี รวมทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์รายใหม่ พัฒนาศักยภาพแกนนำชายรักชาย ในการทำงานดำเนินงานด้านเอดส์อย่างมีส่วนร่วม ในพื้นที่อำเภอเขมราฐ อำเภอนาตาล และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี
การดำเนินงานและกิจกรรม
1. ประเด็นการป้องการติดเชื้อรายใหม่
สร้างอาสาสมัครให้ความรู้ (MSM peer–educators) และเครือข่ายคนทำงานเชิงรุกในพื้นที่ โดยทำกิจกรรมลงพื้นที่ กิจกรรมสนับสนุนถุงยางอนามัยในพื้นที่ กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ เพศศึกษา การป้องกัน สุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชายรักชาย มีจุดบริการข้อมูลข่าวสาร ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอยู่ใกล้ชุมชน และกลุ่มชายรักชายเป็นผู้ประสานเพื่อส่งต่อข้อมูล การบริการระหว่างชายรักชายในชุมชน
2. การพัฒนาศักยภาพแกนนำชายรักชายในพื้นที่และการส่งเสริมการเข้าถึงบริการการตรวจรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
พัฒนาแกนนำชายรักชายเป็นอาสาสมัครในการบริการให้ข้อมูลความรู้ และประสานงานกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐในการให้บริการด้านสุขภาพกับกลุ่มเพื่อนชายรักชายในการให้ข้อมูลและบริการเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ การให้คำปรึกษาและตรวจเอดส์โดยสมัครใจ (VCT: Voluntary Counseling Testing) การดูแลรักษา และการช่วยเหลือเกี่ยวกับโรคเอดส์ที่เป็นมิตรต่อกลุ่มชายรักชาย
3. ประเด็นการเพิ่มการมีส่วนร่วมและพัฒนาศักยภาพของกลุ่มองค์กรในโครงการ
สร้างภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็งเพื่อผลักดันในเชิงนโยบาย และความเคลื่อนไหวทางสังคม โดยผ่านการมีเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกพื้นที่อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงาน
4. การติดตามประเมินผล และบันทึกบทเรียน
ประเมินและติดตาม กระบวนการดำเนินงาน แบบมีส่วนร่วมกับอาสาสมัคร กลุ่มเป้าหมายที่ทำงานด้วยกัน และหน่วยงานภาครัฐ เช่นเจ้าหน้าที่ในสถานบริการด้านการแพทย์ในพื้นที่ร่วมสรุปงานและติดตามการทำงาน แนวทางการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาเนื้องานต่อไปในอนาคต
ผลการดำเนินงาน
- มีกลุ่มชายรักชาย ชื่อ กลุ่มฟ้าสางที่ริมโขง ที่มีโครงสร้าง การแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการกลุ่มในการทำกิจกรรมด้านเอดส์ เพศศึกษา และสุขภาพในพื้นที่
- แกนนำชายรักชายสามารถเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้เรื่องเอดส์ เพศให้กับกลุ่มเยาวชนทั้งในและนอกระบบ
- มีแกนนำชายรักชายในการทำงานกระจายในพื้นที่อำเภอเขมราฐ อำเภอนาตาล และอำเภอโพธิ์ไทร อย่างต่อเนื่องจำนวน15 คน
- มีสมาชิกชายรักชาย จำนวน58 คน เข้ารับการตรวจเลือดแบบสมัครใจ
- มีการแจกจ่ายถุงยางอนามัยไปสู่กลุ่มชายรักชาย ในพื้นที่3 อำเภอ (อำเภอนาตาล อำเภอเขมราฐ อำเภอโพธิ์ไทร)


กลุ่มพนักงานบริการร้านคาราโอเกะ
ยุทธศาสตร์การทำงาน
สร้างเครือข่ายการทำงานป้องกันการติดเชื้อ และดูแลด้านสุขภาพ ในกลุ่มของพนักงานบริการร้านคาราโอเกะ เจ้าของสถานประกอบการ และลูกค้า ในเขตพื้นที่อำเภอเขมราฐ ส่งเสริมให้เข้าถึงบริการการรักษา และสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันการติดโรคทางเพศสัมพันธ์อย่างมีส่วนร่วม และพัฒนาระบบในการให้บริการ และการทำงานในกลุ่มพนักงานบริการชาวลาวร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การดำเนินกิจกรรม
1. ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การดูแลสุขภาพเบื้องต้นในกลุ่มพนักงานบริการชาวลาว และเจ้าของสถานประกอบการร้านคาราโอเกะ
กิจกรรมลงพื้นที่ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องโรคเอดส์ การป้องกัน และการประเมินอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น การส่งต่อไปรับการรักษาเบื้องต้นยังสถานพยาบาล และการส่งเสริมการตรวจเลือดแบบสมัครใจ
2. เครือข่ายผู้ประกอบการ
กิจกรรมประชุมเครือข่ายผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบรมทักษะการให้คำปรึกษากับเจ้าของสถานประกอบการ ประชุมภาคีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดระบบการดูแลสุขภาพที่เอื้อต่อการเข้าถึงการรักษาของพนักงานบริการ ทำให้พนักงานเข้าถึงการบริการสุขภาพได้ง่ายขึ้น
3. การเข้าถึงระบบบริการการรักษาที่โรงพยาบาล
จัดตั้งคลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และระบบการส่งต่อข้อมูลระหว่างร่วมกับโรงพยาบาลเขมราฐ ร้านคาราโอเกะ และพนักงานบริการในการเข้าตรวจสุขภาพ
ผลการดำเนินงาน
- มีเครือข่ายสถานประกอบการร้านคาราโอเกะ จำนวน11 ร้าน ที่เข้าร่วมกิจกรรมและให้ความ ร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมโครงการ
- มีพนักงานบริการจำนวน52 คน (ร้านละ 5-7 คน) เข้าร่วมกิจกรรมประชุมประจำเดือน และอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ เพศศึกษา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- มีแกนนำสื่อสารข้อมูลเรื่องสุขภาพ และส่งต่อที่ร้านคาราโอเกะ จำนวน10 คน (เจ้าของร้านคาราโอเกะ)
- มีกองทุนถุงยางอนามัยของเครือข่ายสถานประกอบการ ในการบริจาคเงินเพื่อซื้อถุงยางอนามัยราคาถูกให้บริการกับพนักงานบริการร้านคาราโอเกะ
- มีจุดบริการข้อมูล เช่น แผ่นพับเรื่องสุขภาพ โรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ถุงยางอนามัยสำหรับพนักงานบริการที่ร้านคาราโอเกะ
- มีคลินิกตรวจสุขภาพ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มพนักงานบริการทุกวันพุธ ช่วงบ่าย มีคลินิกเคลื่อนที่เพื่อให้บริการการตรวจสุขภาพให้กับพนักงานที่ร้านโดยความร่วมมือขององค์การแชร์ ประเทศไทย โรงพยาบาลอำเภอเขมราฐ และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนในการดำเนินงาน
- อำเภอเขมราฐ(ภายใต้การดำเนินงานผ่านภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานเอดส์อำเภอเขมราฐ โดยมีนายอำเภอเขมราฐเป็นประธาน)
- หน่วยงานสาธารณสุข(สสจ.,สสอ,สอ. และเครือข่าย อสม.อำเภอเขมราฐ)
- โรงพยาบาลเขมราฐ โรงพยาบาลนาตาล
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- โรงเรียน และชุมชน
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเขมราฐ
- ภาคีเครือข่ายการขับเคลื่อนงานเอดส์ อำเภอเขมราฐ
- พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์