โครงการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อเอดส์ในชุมชนปีที่ 4

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย และการสื่อสารในกลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์แบบฉาบฉวย (Increased knowledge of safer sex behavior and communication in casual sex )
  2. เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันเอดส์สำหรับเยาวชนและหนุ่มสาวในชุมชน ( Increased access to condoms youth and adolescents )
  3. เพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการและมีนโยบายด้านเอดส์, สุขภาพในระดับพื้นที่ ( Increased HIV / AIDS management and policies among all relevant )

กลุ่มเป้าหมาย

เยาวชน อายุ 15 – 24 ปี และชุมชน ในพื้นที่ดำเนินการ

ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ (ปีที่ 1 – 4)

กลุ่มเป้าหมาย

พื้นที่ดำเนินการ

จำนวนคน

จังหวัด

ตำบล

หมู่บ้าน

1. เยาวชนอายุ 15-24 ปี(ทำตรง)

1

1

13

260

2. ผู้นำชุมชน (ทำตรง)

1

1

13

39

3. ประชาชนในชุมชน (ได้รับผลกระทบ)

1

1

13

5,200

พื้นที่ดำเนินการ

จังหวัดอุบลราชธานี,

พื้นที่เก่า (ปี 1-2) 1 ตำบล, 12 หมู่บ้าน

พื้นที่เก่า (ปี 3) 0 ตำบล, 1 หมู่บ้าน

พื้นที่ใหม่ (ปี 4) 0 ตำบล, 0 หมู่บ้าน

รวม 1 จังหวัด 1 ตำบล, 13 หมู่บ้าน

พื้นที่ดำเนินงาน(ปีที่ 1 – 3)

กิ่งอำเภอสว่างวีระวงศ์

ตำบลบุ่งมะแลง

หมู่บ้าน

( ปี 1 – 2 )

ประชากร

1. บ้านบุ่งมะแลง หมู่ 12. บ้านดอนพอก หมู่ 23. บ้านดู่ หมู่ 34. บ้านบุ่งมะแลง หมู่ 4

5. บ้านสุขสมบูรณ์ หมู่ 5

6. บ้านป่าข่า หมู่ 6

7. บ้านโนนกุหลาบ หมู่ 7

8. บ้านแสงทอง หมู่ 8

9. บ้านโนนเจริญ หมู่ 9

10.บ้านหวายยาวหมู่ 10

11.บ้านหนองเลิงนาหมู่ 11

12. บ้านบุ่งมะแลงน้อย หมู่ 12

13. บ้านห้วยแสนพราน หมู่ 13

861

463

386

710

760

356

565

425

350

447

209

216

356

รวม

6,110

 

ประเด็นหลักของโครงการ Prevention of HIV/AIDS in Casual Sex

ยุทธศาสตร์การดำเนินงานหลัก

  1. พัฒนาศักยภาพ องค์กรชุมชน , แกนนำชุมชน และเยาวชน ในการ เป็นวิทยากร และผู้นำทำงานเอดส์ในชุมชน ให้ถ่ายทอดความรู้ และดำเนินงานกิจกรรมเรื่องเอดส์ในชุมชน
  2. พัฒนาศักยภาพและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น , องค์กรชุมชน และเครือข่ายทุกระดับในการมีนโยบาย และแผนงานด้านเอดส์ สุขภาพระดับท้องถิ่น และรณรงค์ป้องกันเอดส์ในระดับกว้าง
  3. พัฒนาสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเกิดพฤติกรรมป้องกันเอดส์ทางเพศสัมพันธ์ โดยรณรงค์ประชาสัมพันธ์เชิงรุกในระดับชาติ ระดับจังหวัด ตำบล ,หมู่บ้าน ที่เน้นการป้องกันความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ทางเพศสัมพันธ์แบบฉาบฉวยในกลุ่มเยาวชน
  4. การดำเนินกิจกรรมร่วมกับชุมชนและเยาวชน เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนและคนในชุมชนเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเองจากการได้รับเชื้อเอดส์

กิจกรรมหลักภายใต้ยุทธศาสตร์

  1. การจัดตั้งและประชุมคณะทำงานด้านเอดส์ระดับท้องถิ่น( จังหวัด , ตำบล )
  2. การจัดทำหลักสูตร และอบรมพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อเป็นทีมทำงานชุมชน และวิทยากรด้านเอดส์ในชุมชนในระดับต่างๆ
  3. การพัฒนาศักยภาพเยาวชนและชุมชนให้เป็นวิทยากรชุมชน , ทีมทำงานชุมชนในการเป็นแกนนำเผยแพร่ความรู้ในชุมชน
  4. การจัดกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา และแนวทางแก้ไขอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน
  5. จัดทำแผนการป้องกันเอดส์ในชุมชนระดับตำบล ,หมู่บ้านอย่างมีส่วนร่วม
  6. พัฒนาความเข้มแข็งของเยาวชน กลุ่มชุมชน องค์กรชุมชน และเครือข่ายทำงานด้านเอดส์ในการเป็นทีมทำงานในชุมชน
  7. กิจกรรมระดมทุนเพื่อการดำเนินงานป้องกันเอดส์จากหน่วยงาน และแหล่งทุนต่าง ๆ ในชุมชน
  8. ศูนย์เผยแพร่ข้อมูล ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องโรคเอดส์ ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ แก่ชุมชน
  9. จัดกิจกรรมรณรงค์และสร้างความรู้ความเข้าใจที่เน้นปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมทางมิติทางสังคม ได้แก่ Gender, Sexuality and reproductive needs
  10. สร้างสภาพแวดล้อมให้เยาวชนสามารถประเมินความเสี่ยงและเลือกวิถีทางที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการติดเอดส์ได้
  1. จัดแหล่งให้เยาวชนและประชาชนสามารถเข้าถึงถุงยางอนามัย และบริการดูแลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
  2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ที่เน้นอนามัยเจริญพันธ์และการป้องกันการติดเอดส์ , เพศศึกษา, การสื่อสารระหว่างเยาวชนกับผู้ปกครอง
  3. เวทีแลกเปลี่ยนบทเรียน และเครือข่ายการทำงานเอดส์ระดับภาค ,จังหวัด,ตำบล ,หมู่บ้าน
  4. พัฒนาการสื่อสารด้านเอดส์ผ่านวิทยุชุมชน โดยทีมทำงานชุมชน

ตัวชี้วัดกิจกรรมภายใต้โครงการ

  1. มีคณะทำงานตั้งแต่ระดับ,จังหวัด,ตำบลและหมู่บ้าน
  2. เกิดทีมงานวิทยากรชุมชน ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชนได้
  3. เกิดหลักสูตรการอบรมการเป็นวิทยากรด้านเอดส์,การสื่อสาร,เพศศึกษา อนามัยเจริญพันธ์ ,การให้คำปรึกษา การสื่อสารระหว่างเยาวชนกับผู้ใหญ่
  4. มีแผนการปฏิบัติการด้านเอดส์ในทุกระดับ (รวมถึงผู้รับผิดชอบ)
  5. เกิดกิจกรรมด้านเอดส์ที่ต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
  6. เกิดเครือข่ายข้อมูลและเครือข่ายความร่วมมือการทำงานด้านเอดส์ในชุมชน
  7. เกิดการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานรัฐ เอกชน และองค์กรชุมชนในการดำเนินกิจกรรมป้องกันเอดส์ในชุมชน
  8. เกิดกองทุนถุงยางอนามัยและมีระบบการจัดการที่ดีระดับตำบล
  9. มีแหล่งทุนสนับสนุนการทำงานที่ยั่งยืน
  10. มีศูนย์ข้อมูลข่าวสาร และให้ความรู้ด้านเอดส์ในชุมชน
  11. เยาวชนในชุมชน มีความรู้ครอบคลุมความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ อนามัยเจริญพันธุ์ การสร้างการยอมรับผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยเอดส์ของชุมชน และถ่ายทอดสู่คนในชุมชนได้
  12. เกิดการสื่อสารระหว่างเยาวชนกับเยาวชน , ผู้ปกครองกับเยาวชนและชุมชนในด้านอนามัยเจริญพันธ์ เพศศึกษา และการป้องกันเอดส์
  13. มีจุดบริการถุงยางอนามัย และตู้ถุงยางอนามัยแบบหยอดเหรียญบริการในชุมชน
  14. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นมีแผนงานและนโยบายด้านสุขภาพ,เอดส์ในแผนพัฒนาตำบล

ผลที่คาดว่าจะเกิดจากการดำเนินงานในโครงการ

  1. เกิดกลไกการทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐ ,เอกชน ,องค์กรปกครองท้องถิ่นในการกำหนดนโยบายและแผนงาน
    • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บรรจุแผนงานด้านเอดส์ในนโยบายตำบลทุกตำบล เป้าหมายโครงการ
    • มีแผนการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อเอดส์ในชุมชนระดับจังหวัด,ตำบล,หมู่บ้าน
    • มีคณะทำงานป้องกันเอดส์ในชุมชนในคณะกรรมการเอดส์ระดับจังหวัด,ตำบล, หมู่บ้านในการหนุนเสริม และร่วมจัดการปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
  2. เกิดกลุ่มเยาวชน องค์กรชุมชน ,วิทยากรชุมชน,ทีมทำงานชุมชนและเครือข่ายการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในชุมชน รวมถึง ผู้นำชุมชนและเครือข่ายสังคม
    • เกิดกระบวนการคัดเลือกคนทำงานในชุมชนและเครือข่าย โดย
      • ค้นหา (Identify) กลุ่มคนในชุมชนที่มีความสนใจที่จะทำงานเพื่อชุมชนร่วมกัน โดยอาจเป็นกลุ่มที่มีอยู่เดิมหรือ กลุ่มใหม่
      • ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม/กระบวนการประชาสังคมเพื่อค้นหาปัญหาความต้องการของชุมชน
      • กำหนดกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อการป้องกันเอดส์ โดยเฉพาะความเสี่ยงของคนในชุมชน
      • ชุมชนและคนทำงานเอดส์ในชุมชนร่วมกันกำหนดแผนปฏิบัติงาน และดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้
    • เกิดกระบวนการระดมทรัพยากรและแหล่งในท้องถิ่นให้การสนับสนุนการดำเนินงานเรื่องเอดส์อย่างยั่งยืน
  3. เยาวชน และผู้ปกครอง ,ชุมชน มีความรู้ความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและสามารถสื่อสารเรื่องเพศศึกษา,อนามัยเจริญพันธ์ระหว่างครอบครัว
  4. เกิดแหล่งกระจายการเข้าถึงถุงยางอนามัย ในชุมชนได้หลากหลายวิธีไว้บริการแก่ เยาวชน หนุ่มสาวและคนในชุมชนได้อย่างปกติ
  5. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชนต่อการให้ความสำคัญของสภาพปัญหาเรื่องเอดส์และการมีพฤติกรรมของเยาวชนในการขาดภูมิคุ้มกันการดำเนินชีวิตโดยการวางแผนการแก้ไขปัญหาระยะยาวแต่ละบ้าน
  6. แหล่งข้อมูลข่าวสารความรู้ทุกๆด้านไว้บริการประชาชนโดยการบริหารจัดการจากทีมทำงานชุมชน
  7. การพัฒนาศักยภาพ เยาวชน ,ทีมทำงานชุมชน ในการมีบทหลักการแก้ไขปัญหาในชุมชน
  8. เกิดเครือข่ายการร่วมทำงานระหว่างหมู่บ้าน ,ตำบล ,จังหวัด อย่างเป็นระบบที่ชัดเจน
  9. การใช้สื่อท้องถิ่น , วิทยุชุมชน มาประยุกต์ในการสื่อสาร และรณรงค์เสริมความรู้ด้านเอดส์และสุขภาพให้คนในชุมชนทุกระดับและทุกเพศวัย