หลักการและเหตุผล
จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดชายแดนของประเทศไทย มีพื้นที่บางส่วนติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศกัมพูชา ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือทำการเกษตรและอาชีพรับจ้าง ประชากรมีการเคลื่อนย้ายแรงงานไปทำงานต่างถิ่นอย่างต่อเนื่องเมื่อเสร็จสิ้นฤดูกาลทำนา เนื่องจากเป็นพื้นที่ชายแดนประชาชนส่วนหนึ่งมีการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนระหว่างประเทศไทย-สปป.ลาวทุกวัน เพื่อประกอบธุรกิจ และรับจ้างตามแนวชายแดน
อำเภอเขมราฐ อำเภอนาตาล และอำเภอโพธิ์ไทร เป็นอำเภอชายแดนที่มีพื้นที่อยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 100-120 กิโลเมตร ทั้ง 3 อำเภอมีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งเขตแดนซึ่งมีระยะทางยาวไกลมากกว่า 150 กิโลเมตร ซึ่งไม่แตกต่างกับอำเภอกุดข้าวปุ้นที่ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรและรับจ้างทั่วไป และวัยแรงงานมีการเคลื่อนย้ายไปทำงานต่างถิ่นในอัตราที่สูง ในขณะเดียวกันอำเภอวารินชำราบเป็นอำเภอที่อยู่ใกล้ตัวจังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่มีลักษณะเป็นชุมชนเมืองมากกว่าอำเภออื่น ๆ ทำให้มีคนต่างถิ่นย้ายเข้ามารับจ้างเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกันประชาชนในพื้นที่รอบนอกอำเภอวารินชำราบกลับเคลื่อนย้ายไปรับจ้างทำงานในจังหวัดที่ใหญ่กว่า เช่น นครราชสีมา กรุงเทพมหานคร
จากสภาพการทั่วไปของจังหวัดและอำเภอในพื้นที่ดำเนินงาน จะเห็นได้ว่ามีสถานการณ์การเคลื่อนย้ายของคนจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่งอยู่ตลอดเวลา ล้วนทำให้เป็นปัจจัยที่ทำให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีไปสู่คนอื่นอย่างต่อเนื่องและยากต่อการควบคุมโรคติดต่อ มากกว่านั้นสถานการณ์ในพื้นที่ชายแดน อำเภอที่อยู่ห่างไกล หรืออำเภอที่อยู่ใกล้ตัวจังหวัดอุบลราชธานี มีการอพยพของแรงงานเข้ามาทำงานเป็นพนักงานบริการร้านคาราโอเกะ จากการสำรวจสถานบริการในเขตอำเภอเขมราฐ อำเภอนาตาล อำเภอโพธิ์ไทร อำเภอกุดข้าวปุ้น มีพนักงานขายบริการชาวลาวตามร้านคาราโอเกะไม่น้อยกว่า 300 คน (ที่มา: รายงานผลกิจกรรมองค์การแชร์ ประเทศไทย พฤศจิกายน 2554) ปัญหาเอดส์ไม่ใช่แค่การป้องกันการแพร่ระบาดแต่เป็นปัญหาด้านการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ และการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในสังคมด้วยเช่นกัน
ปัจจุบันอำเภอที่อยู่ห่างไกลมีขนาดเล็ก ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานไม่ค่อยสะดวกสบาย ทำให้การเดินทางค่อนข้างลำบาก ระยะทางไกลและไม่มีรถประจำทาง ทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว มีความอดทนสูงเมื่อเกิดการเจ็บป่วยต้องามอดทนสูงยว (สปปล.)ฐประชาธิทั่วไปปล่อยให้มีอาการเจ็บป่วยรุนแรงจึงค่อยมารับการรักษาและทำให้เสียชีวิตไปในที่สุด จากการทำงานเชิงรุกในพื้นที่ขององค์การแชร์ ประเทศไทยได้เห็นถึงความซับซ้อนของปัญหา เช่น ขาดการป้องกันการแพร่และการรับเชื้อระหว่างคู่ ไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องโรคเอดส์และการป้องกัน มีภาวการณ์รังเกียจของเด็กที่ได้รับผลกระทบที่โรงเรียนและในชุมชน เป็นต้น ซึ่งจากการทำงานที่ผ่านมาของหน่วยงานสาธารณสุข องค์กร และกลุ่มผู้ติดเชื้อยังมีข้อจำกัดในการทำงาน เพราะกลุ่มผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์ยังถูกสังคมตีตราว่าเป็นกลุ่มแพร่เชื้อเอชไอวีสู่คนอื่น การดำเนินงานด้านเอดส์ยังไม่ครอบคลุมทั้งในเชิงประเด็นและพื้นที่ได้อย่างแท้จริง มีจำนวนของผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์ที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ แกนนำมีจำนวนน้อย มีความซับซ้อนของสถานการณ์ปัญหา และการวิวัฒนาการของเชื้อเอชไอวีที่ทำให้เกิดความยุ่งยากในการรักษามากยิ่งขึ้น
จากสภาพการณ์ในเชิงการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และสภาพของพื้นที่แล้วทำให้เกิดปัญหาการแพร่เชื้อสู่คู่ครอง และเด็กติดเชื้อเอชไอวีจำนวนมาก ดังสถิติของจังหวัดอุบลราชธานีที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์สะสมจำนวนทั้งสิ้น 7,805 ราย เป็นผู้ป่วยเอดส์จำนวน 5,622 ราย เด็กติดเชื้อจำนวน 349 ราย ในพื้นที่ดำเนินการ 5 อำเภอ 18 ตำบล มีจำนวนผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์สะสม เด็กติดเชื้อเอชไอวี ดังแสดงในตาราง
-
อำเภอ
จำนวนผู้ติดเชื้อสะสม
จำนวนเด็กติดเชื้อสะสม
ในพื้นที่ดำเนินการ
จำนวนเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ในพื้นที่ดำเนินการ
อำเภอเขมราฐ+อำเภอนาตาล**
468
6
46
อำเภอกุดข้าวปุ้น
162
–
31
อำเภอโพธิ์ไทร
106
–
26
อำเภอวารินชำราบ
818
15
145
รวมจำนวน
1,554
21
248
(ที่มา:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีและเครือข่ายผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์จังหวัดอุบลราชธานี, ธันวาคม 2554)
**อำเภอเขมราฐ และอำเภอนาตาล มี 1 โรงพยาบาลชุมชน คือ โรงพยาบาลเขมราฐ ให้การดูแลสำหรับผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์
จากจำนวนที่แสดงมีเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีและได้รับผลกระทบจากเอดส์เป็นจำนวนมาก ปัญหาเอดส์ได้ส่งผลให้เด็กเหล่านี้กลายเป็นเด็กกำพร้า สังคมยังไม่ยอมรับ เด็กขาดคนอบรมสั่งสอน อาศัยอยู่กับปู่ย่าตายายที่แก่แล้วทำให้มีช่องว่างระหว่างวัย เด็กเล็กมีปัญหาไม่เจริญเติบโตตามวัยมีพัฒนาการล่าช้า เด็กที่ติดเชื้อมีปัญหาการดูแลสุขภาพที่ไม่ต่อเนื่อง และปัญหาอีกอย่างที่พบคือปัญหาด้านเศรษฐกิจส่งผลให้เด็กหลายคนต้องหยุดเรียนกลางคันเพื่อออกมาทำงานหาเงินรับผิดชอบครอบครัว กรณีที่เป็นเด็กโตเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นจะเกิดปัญหาไม่สามารถที่จะปรึกษาใครได้ ทำให้เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเมื่อเข้าสู่ภาวะวัยรุ่น
นอกจากกลุ่มเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์แล้วในพื้นที่ดำเนินงานพบว่ายังมีเด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบากที่ด้อยโอกาสกลุ่มอื่นๆ อีกด้วย เช่น เด็กพิการ เด็กที่ครอบครัวยากจนมาก เด็กไร้สัญชาติในพื้นที่ชายแดนอำเภอเขมราฐ อำเภอนาตาล และอำเภอโพธิ์ไทรเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ต้องเผชิญกับปัญหาที่ซ้ำซ้อนในขณะที่การได้รับความช่วยเหลือดูแลจากหน่วยงานหรือคนในพื้นที่ยังมีค่อนข้างจำกัด ซึ่งมีปัจจัยหลายสาเหตุ เช่น ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการดำเนินงานด้านสุขภาพเรื่องโรคเอดส์ สิทธิการรักษาสำหรับคนไทยและแรงงานข้ามชาติในพื้นที่ชายแดน คนในชุมชนรวมทั้งหน่วยงานยังขาดทักษะในการดำเนินงานด้านเอดส์หรือไม่เห็นความสำคัญของปัญหา บางหน่วยงานยังติดปัญหาทางด้านกฎหมายเช่นกรณีของเด็กไร้สัญชาติ ปัญหาต่างๆ ของเด็กที่กล่าวมาเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของชุมชนจึงจะสามารถบรรเทาปัญหาต่างๆ ลงได้ ดังนั้นโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กในชุมชน (CHILDLIFE)จึงเป็นการส่งเสริมและให้โอกาสกับเด็กที่อยู่ในสภาวะยากลำบากได้เข้าถึงการบริการด้านสุขภาพ การปกป้องสิทธิทางสังคม และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการเพื่อป้องกันแก้ไขในกลุ่มเด็กอย่างเป็นระบบ
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ (CABA) และเด็กที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงอื่น ๆ ในชุมชนที่มีสถานการณ์เอดส์สูง ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและคุณภาพชีวิต รวมทั้งได้รับการยอมรับในสังคมในมาตรฐานเดียวกับเด็กทั่วไป
วัตถุประสงค์เฉพาะ
- เพื่อเสริมความเข้มแข็งและประสานการทำงานเชื่อมโยงระบบสุขภาพ การมีส่วนร่วมของชุมชน การปกป้องทางสังคม เพื่อพัฒนาบริการให้มีคุณภาพ โดยคำนึงถึงประเด็นความอ่อนไหวในเด็ก
- เพื่อเข้าถึงการรักษาและบริการทางสังคมที่เท่าเทียมของเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ เด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบากและเด็กอื่นที่ไม่ได้รับการดูแลจากสังคม
- เพื่อปรับปรุงและเพิ่มการยอมรับทางสังคมที่เท่าเทียมของเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ รวมทั้งคนที่ถูกรังเกียจหรือไม่ได้รับการยอมรับเนื่องจากสาเหตุอื่น ๆ
- เพื่อส่งเสริมศักยภาพระดับประเทศ จังหวัด อำเภอ ตำบล รวมทั้งชุมชนให้มีกลยุทธ์ด้านระบบข้อมูล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาบริการให้กับเด็ก
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เกิดกลไกประสานการทำงานเชื่อมโยงระบบสุขภาพ ระบบชุมชน และระบบป้องกันคุ้มครองทางสังคม ในการพัฒนาระบบบริการให้มีคุณภาพที่คำนึงถึงประเด็นความอ่อนไหวในเด็ก
- เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวีเอดส์ เด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบากและเด็กอื่นที่ไม่ได้รับการดูแลจากสังคมเข้าถึงการรักษาและบริการทางสังคมที่เท่าเทียม
- สังคมเพิ่มการยอมรับเด็กและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวีเอดส์ รวมทั้งคนที่ถูกรังเกียจหรือไม่ได้รับการยอมรับเนื่องจากสาเหตุอื่น ๆ
- มีระบบข้อมูลและกลยุทธ์ที่นำไปสู่การพัฒนาการบริการให้กับเด็ก ทั้งในระดับชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ
กลุ่มเป้าหมายโครงการ
- เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ ได้แก่ เด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี (จากทุกความเสี่ยง – แรกเกิด-พฤติกรรมเสี่ยง) เด็กที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี แต่พ่อ/แม่ติดเชื้อเอชไอวี หรืออาศัยอยู่กับผู้ติดเชื้อฯ หรือผู้มีโอกาสเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ
- เด็กที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงโดยสาเหตุอื่น เด็กสภาวะเสี่ยง/ยากลำบากตามเกณฑ์ พม. ได้แก่ ยากจน เร่รอน ไม่มีสถานะบุคคล สิ้นสุดหรือยังอยู่ในกระบวนการยุติธรรม เด็กในครอบครัวผู้ติดเชื้อ
- เด็กชาติพันธ์ที่ไม่ได้สัญชาติไทยและเข้าไม่ถึงบริการพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับเด็ก
พื้นที่การดำเนินงาน
จาก 5 อำเภอ จำนวน 18 ตำบล ดังนี้
- อำเภอเขมราฐ 4 ตำบล ได้แก่ 1.ต.ขามป้อม 2.ต.เจียด 3.ต.หนองสิม 4.ต.หนองผือ
- อำเภอนาตาล 4 ตำบล ได้แก่ 5.ต.พังเคน 6.ต.นาตาล 7.ต.กองโพน 8.ต.พะลาน
- อำเภอโพธิ์ไทร 3 ตำบล ได้แก่ 9.ต.สองคอน 10.ต.สำโรง 11.ต.เหล่างาม
- อำเภอกุดข้าวปุ้น 3 ตำบล ได้แก่ 12.ต.หนองทันน้ำ 13.ต.โนนสว่าง 14.ต.กุดข้าวปุ้น
- อำเภอวารินชำราบ 4 ตำบล ได้แก่ 15.ต.ห้วยขะยุง 16.ต.ท่าลาด 17.ต.ศรีไค 18.ต.วาริน
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 เดือน ตั้งแต่1 มกราคม – 30 กันยายน 2555
แนวทางการติดตามประเมินผล
ประชุมติดตามผลการดำเนินงานในพื้นที่ทุกเดือน(ภายใต้กิจกรรมการประชุมCAGs) เพื่อทบทวนและสรุปวิธีการดำเนินงาน กระบวนการ และผลที่ได้รับจากการทำกิจกรรม ทั้งในเชิงบวกและลบ ร่วมกับCAGs และภาคีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนาเป็นรูปแบบการดำเนินงานกิจกรรมให้สอดคล้องกับพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับกลุ่มเป้าหมาย
-
ประชุมติดตามการดำเนินงานและหาแนวทางการแก้ไข(ในกรณีที่เกิดปัญหาการทำงาน)ร่วมกับCAGsและภาคีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกๆ 3 เดือน โดยผลที่ได้จะนำมาจัดทำรายงานความก้าวหน้าและนำไปปรับใช้ในการพัฒนากิจกรรมให้เหมาะสม
-
ประชุมเพื่อทบทวนแนวทางการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม
-
จัดทำรายงานผลความก้าวหน้าทั้งในเชิงคูณภาพและเชิงประมาณ รวมทั้งจัดทำรายงานการเงินทุก 3 เดือนเพื่อจัดส่งให้แหล่งทุน
-
สร้างระบบรายงายภายในเกี่ยวกับฐานข้อมูลโครงการทั้งปริมาณและคุณภาพ
-
จัดประชุมสรุปบทเรียนกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินภาพรวมการดำเนินงานในหนึ่งปี เพื่อประเมินความสำเร็จและรูปแบบการทำงานที่เป็นประโยชน์แก่การดำเนินงานในปีต่อไป
แนวทางการสร้างความต่อเนื่องให้กับโครงการในอนาคต
- สร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเน้นการทำงานในเรื่องการพัฒนาศักยภาพของชุมชน สร้างกลไกการทำงานที่สามารถดำเนินงานได้จริง และใช้กลไกเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงาน
- พัฒนาศักยภาพของคณะทำงาน กลไกการทำงาน ในเรื่องการทำงานเชิงนโยบาย เพื่อเกิดนโยบายที่ตอบสนองต่อปัญหาและเกิดประโยชน์กับเด็กอย่างเป็นจริง
- ประสานและระดมทรัพยากรที่อยู่ในชุมชน เพื่อนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานให้เกิดประโยชน์กับชุมชนและนำไปสู่ความยั่งยืน
- สรุปบทเรียนการทำงานเพื่อขยายผล