เป้าหมาย พันธกิจ วัตถุประสงค์

เป้าหมาย

ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในพื้นที่ชายแดนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

พันธกิจ

มุ่งสู่การพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในพื้นที่ชายแดนโดยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพคน องค์กร ชุมชน และเครือข่ายให้เกิดการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสทางสังคมให้มีความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม และดูแลตนเองได้
  2. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพกลุ่ม องค์กร ชุมชน และเครือข่ายให้เกิดการพึ่งตนเอง    ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
  3. เพื่อสร้างกลไกการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคมในการเข้าถึงระบบการช่วยเหลือ ส่งต่อ และบริการที่เป็นมิตร

กลุ่มเป้าหมาย 

  1. ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV
  2. กลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTIQs
  3. แรงงานข้ามชาติ (แรงงานลาว พนักงานบริการร้านคาราโอเกะ คนลาวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่)
  4. เด็ก เยาวชน (0-18 ปี ) และครอบครัว  ( เด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบาก เช่น พิการ กำพร้า พ่อแม่หย่าร้าง เร่ร่อน ไร้สัญชาติ ถูกทารุณกรรม อยู่ในกระบวนการยุติธรรม รับภาระเกิดวัย อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี)
  5. คนพิการในชุมชนพื้นที่ชายแดน

กิจกรรมภายใต้วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสทางสังคมให้มีความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม และดูแลตนเองได้

  • ฝึกอบรมความรู้ ทัศนคติ ทักษะเรื่องการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเรื่องสิทธิและสวัสดิการ
  • จัดกิจกรรมกับกลุ่มเฉพาะที่เข้าถึงยากเพื่อสร้างองค์ความรู้ ทัศนคติ สร้างทักษะ นำสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
  • ลงพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจ และประเมินความต้องการของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส(Outreach)
  • เยี่ยมบ้านติดตาม เสริมพลัง ให้กับผู้ด้อยโอกาส (Home visit)
  • ให้คำปรึกษา(Counseling)ทั้งรายบุคคล รายกลุ่ม และผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ช่องทางต่างๆ 

2. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพกลุ่ม องค์กร ชุมชน และเครือข่ายให้เกิดการพึ่งตนเอง ทั้งด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

  • ขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับกลุ่ม องค์กรชุมชน และเครือข่าย
  • พัฒนาศักยภาพแกนนำให้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในชุมชน
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่ม ในการบริหารจัดการกลุ่ม
  • สร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ
  • ศึกษาวิจัยองค์ความรู้ชุมชน และเผยแพร่สู่สาธารณะ

3. เพื่อสร้างกลไกการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคมในการ  เข้าถึงระบบการช่วยเหลือ ส่งต่อ และบริการที่เป็นมิตร

  • จัดตั้งกลไกความร่วมมือในระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด
  • อบรมพัฒนาศักยภาพผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียในการเชื่อมต่อระบบการช่วยเหลือ ส่งต่อและการบริการที่เป็นมิตร
  • รณรงค์เชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมให้ผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงระบบส่งต่อ และบริการที่เป็นมิตร