ผลการดำเนินโครงการ ระหว่างเดือนมิถุนายน 2552 – เดือนธันวาคม 2553 | กลุ่มเยาวชน

ยุทธศาสตร์การทำงาน

เพื่อพัฒนาและเสริมสมรรถนะทีมทำงานระดับตำบลในเรื่องเอดส์ เพศศึกษา การวิเคราะห์ชุมชน , จัดทำแผนพัฒนาชุมชน ,พัฒนาโครงการเสนอแหล่งทุนในระดับต่างๆ  และเสริมสร้างคณะทำงานเอดส์ระดับตำบล ในการพัฒนาระบบการทำงานด้านสุขภาพเข้าสู่แผนนโยบายในงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างกลไกชุมชนให้มีบทบาทการทำงานด้านเอดส์อย่างเป็นระบบและการระดมทุนสู่ชุมชน  จัดตั้งและพัฒนาศูนย์บริการด้านสุขภาพ/เอดส์ในชุมชนระดับตำบล สร้างกระบวนการวิเคราะห์ต่อปัญหาสุขภาพ และโรคเอดส์ต่อกลุ่มเยาวชน ด้วยการใช้สื่อสารสาธารณะ , เวทีแลกเปลี่ยนสาธารณะ,บทเรียน ส่งเสริมสนับสนุนการทำงานของเครือข่ายเยาวชน และทีมทำงานชุมชน

 

การดำเนินกิจกรรม

  1. ประสานขอความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีการวางแผนการจัดกิจกรรมด้านป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและส่งเสริมการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาชุมชนที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนด้วย
  2. ส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยและจัดจุดบริการถุงยางอนามัยให้ใช้ได้สะดวกมากขึ้น
  3. พัฒนาศักยภาพของคณะทำงานกลไกการประสานงานระดับตำบลในการวิเคราะห์แผนงาน,เขียนโครงการ,ติดตามหนุนเสริมงานกิจกรรมด้านการป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์
  4. การจัดตั้งและประชุมคณะทำงานด้านเอดส์ระดับท้องถิ่นระดับตำบล
  5. การพัฒนาศักยภาพเยาวชนและชุมชนให้เป็นวิทยากรชุมชน หรือ ทีมทำงานชุมชนและเครือข่ายทำงานด้านเอดส์ในการเป็นแกนนำเผยแพร่ความรู้ในชุมชนระดับตำบล โดยการประชุมกลุ่มประจำเดือน อบรมเพิ่มทักษะที่จำเป็นในการทำงานเรื่องโรคเอดส์ เพศศึกษาให้กับคณะทำงานตำบล
  6. จัดทำแผนการป้องกันเอดส์ในชุมชนระดับตำบล อย่างมีส่วนร่วม
  7. การเขียนโครงการขอรับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงาน และแหล่งทุนต่าง ๆ
  8. มีจุดบริการเผยแพร่ข้อมูล ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องโรคเอดส์ ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ แก่ชุมชนระดับตำบล
  9. รณรงค์และสร้างความรู้ความเข้าใจที่เน้นปัจจัยเสี่ยงและสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมทางการเรียนรู้เพศศึกษา / เอดส์ ที่ถูกต้อง
  10. เวทีแลกเปลี่ยนบทเรียน และเครือข่ายการทำงานเอดส์ระดับภาค ,จังหวัด,ตำบล
  11. พัฒนาการสื่อสารด้านเอดส์ต่างๆ เช่นผ่านวิทยุชุมชน โดยทีมทำงานชุมชน

ผลการดำเนินงาน

  1. มีคณะทำงานชุมชนระดับตำบล ๆ ละ 1 คณะ ในพื้นที่ตำบลเขมราฐ ตำบลนาแวง ตำบลหัวนา และตำบลบุ่งมะแลง จังหวัดอุบลราชธานี (ที่ประกอบด้วยแกนนำเยาวชน ผู้นำชุมชน ตัวแทนจากหน่วยงานองค์กรในพื้นที่)
  2. มีแกนนำเยาวชนสามารถสื่อสารเรื่องโรคเอดส์ การป้องกัน เพศศึกษา โดยประมาณตำบลละ 7-10 คน
  3. มีศูนย์ให้บริการถุงยางอนามัย และข้อมูลเรื่องสุขภาพ เอดส์ ตำบลละ 1 แห่ง
  4. เยาวชนแต่ละพื้นที่มีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ บทเรียนการทำงานด้านเอดส์ เพศในชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง
  5. เยาวชนสามารถวางแผนกิจกรรม เขียนโครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(แต่ยังไม่ได้รับการสนับสนุน)
  6. มีสื่อประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมในพื้นที่ เช่น สปอตวิทยุ เพื่อประชาสัมพันธ์การทำงานของกลุ่มเยาวชน และโครงการในพื้นที่อย่างต่อเนื่องผ่านสถานีวิทยุชุมชน และสื่อบุคคล

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนในการดำเนินงาน

  1. ที่ว่าการอำเภอเขมราฐ (ภายใต้การดำเนินงานผ่านภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานเอดส์อำเภอเขมราฐ โดยมีนายอำเภอเขมราฐเป็นประธาน)
  2. หน่วยงานสาธารณสุข (สสจ.,สสอ,สอ. และเครือข่าย อสม.อำเภอเขมราฐ)
  3. โรงพยาบาลเขมราฐ
  4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  5. โรงเรียน และชุมชน
  6. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเขมราฐ
  7. ภาคีเครือข่ายการขับเคลื่อนงานเอดส์ อำเภอเขมราฐ