โปรแกรมที่เปิดฝึกอบรม

โปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อคนทำงานด้านเอดส์ สุขภาพ และอนามัยเจริญพันธุ์

คลิกเพื่อรับ>> โปรแกรมการฝึกอบรม มสป

คลิกเพื่อรับ >>ใบปลิวประชาสัมพันธ์โปรแกรมการฝึกอบรม

               หากคุณหรือหน่วยงานของคุณกำลังมองหาบุคคลกรด้านการฝึกอบรมด้านสุขภาพ เอดส์ และอนามัยเจริญพันธ์ุ  มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการแบ่งปัน (มสป.) เป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์การดำเนินงานด้านสุขภาพ เอดส์ เพศ และการพัฒนาสังคมมาอย่างยาวนาน  มูลนิธิฯ สามารถแบ่งปันประสบการณ์การทำงานให้กับเครือข่ายเพื่อนร่วมงาน องค์กร หน่วยงาน หรือกลุ่มแกนนำผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  โดยโปรแกรมการฝึกอบรมที่แนะนำ ได้แก่

โปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อคนทำงาน

ด้านเอดส์ สุขภาพ อนามัยเจริญพันธุ์

มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการแบ่งปัน (มสป.) เป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์การดำเนินงานด้านสุขภาพ เอดส์ เพศ และการพัฒนาสังคมมาอย่างยาวนาน ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิฯ  จึงสามารถแบ่งปันประสบการณ์การทำงานให้กับเครือข่ายเพื่อร่วมงาน องค์กร หน่วยงาน หรือกลุ่มแกนนำที่มีความต้องการในการพัฒนาศักยภาพตนเอง กลุ่ม องค์กร ผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  ซึ่งหลักสูตรการฝึกอบรมที่แนะนำได้แก่

1.การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพที่สามารถทำได้เองที่บ้าน เข้าใจโรค เข้าใจหลักการดูแลเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับทุกกลุ่มเป้าหมายทั้ง เยาวชน อาสาสมัครด้านสุขภาพ กลุ่มแม่บ้าน ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โดยผ่านการฝึกปฏิบัติและสื่อการเรียนการสอนที่เข้าใจง่าย พร้อมกับคำแนะนำจากนักสุขศึกษาและพยาบาล แล้วเรื่องการดูแลสุขภาพที่บ้านจะไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากอีกต่อไป

2. การสื่อสารเรื่องเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการป้องกัน การเรียนรู้เรื่องเอดส์และเพศศึกษา ผ่านชุดกิจกรรมที่สนุกสนานและข้อมูลเรื่องเอดส์ที่ทันสมัย โดยวิทยากรมืออาชีพที่มีประสบการณ์การทำงานด้านเอดส์ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะเรียนรู้และแลกเปลี่ยน ถาม-ตอบแก้ไขข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับ เอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง ตัวอย่างชุดกิจกรรมเช่น เชื้อเอดส์อยู่ที่ไหน กิจกรรมแลกน้ำ อาชีพเสี่ยง การประเมินพฤติกรรมเสี่ยง การป้องกันโดยการใช้ถุงยางอนามัย  เมื่อผ่านกิจกรรมแล้วผู้เข้ารับการอบรมจะสามารถสื่อสารเรื่องเอดส์ และเพศศึกษาได้อย่างชัดเจน

3. อนามัยเจริญพันธุ์  เป็นกระบวนการพัฒนาทั้งด้านความรู้ ความคิด ทัศนคติ อารมณ์ และทักษะที่จำเป็นสำหรับบุคคลให้สามารถเลือกดำเนินชีวิตทางเพศได้อย่างเป็นสุขและปลอดภัย ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาที่รอบด้านทั้งด้านพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ การทำงานของสรีระและการดูแลสุขภาพอนามัย ทัศนคติ ค่านิยม สัมพันธ์ภาพ พฤติกรรมทางเพศ อีกทั้งมิติทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อวิถีชีวิตทางเพศ เพราะเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์เกี่ยวข้องกับมนุษย์ของเราตั้งแต่เกิดจนตาย การเรียนรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์จึงเหมาะสมสำหรับทุกเพศทุกวัย  ตัวอย่างชุดกิจกรรม เช่น เส้นชีวิต  ย้อนรอยวัยรุ่น เรียนรู้เรื่องสรีระชาย-หญิง ความหลากหลายทางเพศ การดูแลสุขภาวะทางเพศ เป็นต้น

4.การให้คำปรึกษาเบื้องต้น  “รับฟังอย่างลึกซึ้ง ไม่ตัดสิน ไม่คิดแทน” ความเข้าใจเกี่ยวกับอำนาจเหนือ อำนาจร่วม อำนาจในตน แนวคิดหลักสำหรับผู้ให้คำปรึกษา กิจกรรมมุ่งการปรับทัศนคติและฝึกปฏิบัติในการให้คำปรึกษาเบื้องต้นเพื่อเอื้ออำนวยให้บุคคลที่มาขอรับคำ ปรึกษาได้สำรวจความเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง สำรวจปัญหา สามารถจัดลำดับความคิด และตัดสินใจหาทางเลือกในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง

5. การสื่อสารเชิงบวกสำหรับผู้ปกครองและวัยรุ่น การเรียนรู้องค์ประกอบการสื่อสารและฝึกปฏิบัติการสื่อสารเชิงบวก การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ได้รู้จักตนเองรู้จักผู้อื่น มีการสร้างความรู้สึกและสัมพันธ์ภาพที่ดี มีเทคนิคการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจ การร่วมมือ การยอมรับ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  ตัวอย่างชุดกิจกรรม เช่น เปิดใจ สำรวจชุมชน เลือกข้าง ย้อนรอยวัยรุ่น เรื่องเพศของวัยรุ่น เจออย่างนี้ทำอย่างไร ฟังอย่างตั้งใจ ช่องทางการรับบริการสุขภาพวัยรุ่น

6.การเขียนโครงการ ( สำหรับกลุ่มแกนนำชุมชน ) กิจกรรมมุ่งเน้นการเรียนรู้การเขียนโครงการผ่านชุดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น

  1. การมองอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
  2. การเขียนโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา ผ่านการวิเคราะห์โดยใช้ต้นไม้ปัญหา ต้นไม้วัตถุประสงค์ การกำหนดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
  3. แนวคิดสามมติ (คน เรื่องราว พื้นที่)
  4. การเขียนโครงการโดยใช้ศักยภาพเชิงบวก
  5. หลักการเขียนโครงการเบื้องต้น
    (ใช้บรรยาย ระดมความคิดเห็นในกลุ่มย่อย ฝึกปฏิบัติ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มใหญ่)

7. การสร้างทีมงาน หัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ การเรียนรู้จักการแก้ไขปัญหาร่วมกัน การลดความขัดแย้ง เข้าใจบทบาทและความรับผิดชอบต่อการทำงาน โดยผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมและสรุปบทเรียนร่วมกันในทีมงาน

8. ทักษะการเป็นนักจัดกิจกรรมกระบวนการ เรียนรู้และพัฒนาทักษะการเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมกระบวนการ เช่น ทักษะการเป็นวิทยากรกระบวนการ การจัดการเวลา การติดต่อประสานงาน การจัดเตรียมกิจกรรมต่างๆ และการเขียนสรุปรายงาน   (เหมาะสำหรับแกนนำชุมชน แกนนำเยาวชน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงาน และอื่นๆ) 

ระยะเวลาในการจัดอบรม:  1-2 วัน (เนื้อหาสามารถออกแบบได้ให้เหมาะสม)

จำนวนผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม : จำนวน 20-50 คน / หรือแล้วแต่ขนาดของกลุ่ม

ค่าใช้จ่าย :

ท่านสามารถเบิกจ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรได้ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2552 ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0406.4/ว.485 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2552

  1. ค่าสมนาคุณวิทยากรหลัก ชั่วโมงละ 800 บาท
  2. ค่าสมนาคุณวิทยากรผู้ช่วย ชั่วโมงละ 300 บาท/ คน

(เพื่อการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม จำนวนผู้เข้าร่วม 10 คน  ควรมีวิทยากรผู้ช่วย 1 คน)

โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวครอบคลุมค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม   แต่ค่าใช้จ่ายนี้ไม่ร่วมค่าเดินทาง ที่พัก ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าใช้จ่ายอื่นๆ

นอกเหนือโปรแกรมการอบรมพื้นฐานเหล่านี้แล้ว มูลนิธิฯ ยังสามารถออกแบบกิจกรรมด้านสุขภาพและประเด็นการทำงาน ด้านสังคมอื่นๆให้ตรงกับบริบทพื้นที่และความต้องการของหน่วยงานหรือความต้องการของผู้เข้ารับการอบรมได้

ใบเสนองบประมาณการฝึกอบรม คลิกที่นี้ > >ใบเสนองบประมาณ

ติดต่อ 

  1. นายบุญถม ชะนะกาล  โทร 083 7420503    E-mail: thomchanakan@gmail.com
  2. นางสาวลัดดา ไวยวรรณ์ โทร 091 8343211  E-mail: laddawaiyawan@hotmail.com

ที่อยู่

มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการแบ่งปัน (มสป.)

192 หมู่ 7 ถนนวิศิษฐิ์ศรี ตำบลเขมราฐ  อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี 34170 | โทร 045  950415

ภาพตัวอย่างการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา